ผลของโปรแกรมการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, หมู่บ้านจัดการสุขภาพ, การวางแผนแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
หมู่บ้านจัดการสุขภาพ เป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาสุขภาพระดับหมู่บ้าน ที่ต้องการให้ประชาชนในหมู่บ้านสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตามเกณฑ์หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ศึกษาในพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 48 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมที่จัดขึ้น โดยใช้เทคนิคกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์โดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้นำชุมชนมีระดับคะแนนเฉลี่ยด้านการมีส่วนร่วมในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ทั้งโดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการค้นหาปัญหา การวางแผน การดำเนินงาน การรับประโยชน์ และด้านติดตามประเมินผล เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ทดลองมีการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการพัฒนาได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องรวมทั้งเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้ผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพในที่สุด
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาครั้งนี้ คือ 1) การสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนเพื่อสร้างให้เกิดแรงผลักดันของชุมชนโดยการเรียนรู้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ผ่านเกณฑ์แล้ว 2) หน่วยงานและภาคีเครือข่ายในชุมชนให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี และ 3) มีผู้นำชุมชนที่เข้าใจสภาพและบริบทของพื้นที่และมีเทคนิคการนำกระบวนการจัดการการมีส่วนร่วมไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
References
พรเทพ ศิรินารังสรรค์ และคณะ. รูปแบบการเลือกการกระจายอำนาจสาธารณสุขสู่องค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, 2542.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. พลวัตสุขภาพกับการพึ่งตนเองภาคชนบท.กรุงเทพ ฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, 2547.
อรพินท์ สพโชคชัย. คู่มือการจัดประชุมเพื่อการระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้านโดยพลังประชาชน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2537.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์,
2547.
จิตติมา อินทำมา. การพัฒนาการเรียนรู้ของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง โดยใช้กระบวนการ AIC: กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.
ทวี ขวัญมา. การจัดการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.
ประเสริฐ บินตะคุ. การอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาความพร้อมในการถ่ายโอนสถานีอนามัย
ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจังหวัดหนองคาย : วิทยานิพนธ์ ส.ม.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2541.
ไพบูลย์ แสงโทโพธิ์. การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
สุทิน โสรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม