ผลการรักษาการผ่าตัดสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าผ่านกล้องส่อง ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด, การผ่าตัดส่องกล้องสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าโดยวิธีการผ่าตัดโดยใช้เส้นเอ็นสะบ้า, การผ่าตัดส่องกล้องสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าโดยใช้เส้นเอ็นหลังข้อเข่าแฮมสตริงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการรักษาการผ่าตัดส่องกล้องสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้า โดยวิธีการผ่าตัดโดยใช้เส้นเอ็นสะบ้าและใช้เส้นเอ็นด้านหลังเข่าแฮมสตริง ซึ่งประเมินในเรื่องความมั่นคงข้อเข่าและการทำงานของข้อเข่า
วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด ซึ่งได้รับการผ่าตัดส่องกล้องสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าในโรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 และติดตามผลการรักษาทางคลินิกเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด มีจำนวน 85 ราย เป็นเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดหลายตำแหน่ง จำนวน 6 ราย เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดหนึ่งตำแหน่งจำนวน 79 ราย และได้รับการผ่าตัดโดยใช้เส้นเอ็นสะบ้า 4 ราย และใช้เส้นเอ็นหลังข้อเข่าแฮมสตริง 81 ราย ผู้ป่วยมาติดตามการรักษาหลังผ่าตัดโดยเฉลี่ย 7 เดือน จากการวิเคราะห์ในกลุ่มผู้ป่วยเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดหนึ่งตำแหน่ง จำนวน 79 ราย ผลการศึกษาพบว่าในเรื่องความมั่นคงข้อเข่า โดยการตรวจ Lachman test ก่อนผ่าตัดผล positive/negative เท่ากับร้อยละ 100/ 0 และหลังผ่าตัดผล positive/negative เท่ากับร้อยละ 2.4 / 97.6 ตามลำดับ ซึ่งผลหลังผ่าตัดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าเฉลี่ย Lysholm score ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดเท่ากับ 71.0 ± 7.5 และ 91.2 ± 2.9 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด พบ 14 ราย(ร้อยละ 16.5) และมี 1 รายได้รับการผ่าตัดซ้ำ
สรุปผลการศึกษา : การผ่าตัดส่องกล้องสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าในโรงพยาบาลมหาสารคาม ให้ผลการรักษาเรื่องความมั่นคงและการทำงานข้อเข่าที่ดีขึ้น การศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานการศึกษาว่าวิธีการรักษานี้ใช้ได้ผลดีในอนาคต เพื่อพัฒนาคุณภาพวิธีการผ่าตัด การทำงานของข้อเข่า และลดภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัด
References
Carmont MR, Scheffler S, Spalding T, Brown J, Sutton PM. Anatomical single bundle anterior cruciate ligament reconstruction. Curr Rev Musculoskelet Med 2011; 4(2): 65-72.
Marx RG, Jones EC, Angel M, Wickiewicz TL, Warren RF. Beliefs and attitudes of members of the American Academy of Orthopaedic Surgeons regarding the treatment of anterior cruciate ligament injury. Arthroscopy 2003; 19(7): 762-70.
Griffin LY, Albohm MJ, Arendt EA, Bahr R, Beynnon BD, Demaio M, et al. Understanding and preventing noncontact anterior cruciate ligament injuries: a review of the Hunt Valley II meeting, January 2005. Am J Sports Med 2006; 34(9): 1512-32.
Dye SF, Wojtys EM, Fu Fh, Fithian DC, Gillquist J. Factors contributing to function of the knee joint after injury and reconstruction of the anterior cruciate ligament. In Zuckerman JD. Ed. Instructional Course. Rosemont, American Academy of Orthopaedic Surgery. 1999; 48: 185-98.
Rangger C, Klestil T, Gloetzer W, Kemmler G, Benedetto KP. Osteoarthritis after arthroscopic partial meniscectomy. Am J Sports Med 1995; 23(2): 240-4.
Shaieb MD, Kan DM, Chang SK, Marumoto JM, Richardson AB. A prospective randomized comparison of patellar tendon versus semitendinosus and gracilis tendon autografts for anterior cruciate ligament reconstruction. Am J Sports Med 2002; 30(2): 214-20.
Ejerhed L, Kartus J, Sernert N, Köhler K, Karlsson J. Patellar tendon or semitendinosus tendon autografts for anterior cruciate ligament reconstruction? A prospective randomized study with a two-year follow-up. Am J Sports Med 2003; 31(1): 19-25.
Hardin GT, Bach BR, Bush-Joseph CA. Endoscopic single-incision anterior cruciate ligament reconstruction using patellar tendon autograft. Am J Knee Surg 1992; 5: 144¬-55.
Zaricznyj B. Reconstruction of the anterior cruciate ligament of the knee using a doubled tendon graft. Clin Orthop Relat Res 1987; 220: 162-75.
Brown CH Jr, Spalding T, Robb C. Medial portal technique for single-bundle anatomical anterior cruciate ligament (ACL) reconstruction. Int Orthop 2013; 37(2): 253-69.
Van Eck CF, Lesniak BP, Schreiber VM, Fu FH. Anatomic single- and double-bundle anterior cruciate ligament reconstruction flowchart. Arthroscopy 2010; 26(2): 258-68.
Araki D, Kuroda R, Kubo S, Fujita N, Tei K, Nishimoto K, et al. A prospective randomised study of anatomical single-bundle versus double-bundle anterior cruciate ligament reconstruction: quantitative evaluation using an electromagnetic measurement system. Int Orthop 2011; 35(3): 439-46.
Deo S, Rallapalli R, Biswas S. A comparison of hamstring autograft versus bone patella tendon bone autograft for reconstruction of anterior cruciate ligament: a prospective study of 30 cases. Med J Dr Patil Univ 2013; 6: 267–273.
ธวัชชัย เทียมกลาง, ปกรณ์ นาระดล, เสริมศักดิ์ สุมานนท์. การเปรียบเทียบการรักษาของวิธีใช้เส้นเอ็นสะบ้ากับวิธีใช้เส้นเอ็นแฮมสตริงสองมัดในการผ่าตัดสร้างเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าผ่านกล้องส่องข้อ. Srinagarind Med J 2010; 25(3): 208-14.
ธิติพงษ์ เจนทวีพรกุล. การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเปลี่ยนเส้นเอ็นไขว้หน้าระหว่างการใช้บางส่วนของเอ็นติดกระดูกจากเอ็นลูกสะบ้าและเอ็นจากกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่าโดยใช้วิธีการส่องกล้องข้อเข่า ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ รพศ./รพท.เขต 4 2010; 12(2): 119-128.
Gerhard P, Bolt R, Dück K, Mayer R, Friederich NF, Hirschmann MT. Long-term results of arthroscopically assisted anatomical single-bundle anterior cruciate ligament reconstruction using patellar tendon autograft: are there any predictors for the development of osteoarthritis? Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc 2013; 21(4): 957-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม