การจัดการเชิงรุกในการใช้บัตรสุขภาพแม่และเด็กของการฝากครรภ์ครั้งแรก (ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์) ในโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์พงษ์ พรรณพราว

คำสำคัญ:

บัตรสุขภาพแม่และเด็ก, ฝากครรภ์คุณภาพ

บทคัดย่อ

                   ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กําหนดค่าเป้าหมายให้มีการฝากครรภ์คุณภาพครั้งแรก ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 60 แต่พบว่าปัจจุบันการฝากครรภ์ดังกล่าวในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 53 ในส่วนของโรงพยาบาลนาดูน มีร้อยละ 23, 26.8, 30 ในปี พ.ศ. 2553 , 2554 และ 2555 ตามลําดับ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากที่จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขดังนั้นโรงพยาบาลนาดูนจึงได้ทําโครงการฝากครรภ์ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก (Health Card For Mother & Child) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ร่วมกับอสม.

                  วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาและประเมินผลของโครงการฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ด้วยบัตรประกันสุขภาพแม่และเด็ก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

                  วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่่วนร่วม ซึ่งจัดทําโครงการร่วมกับ อสม.จํานวน 161 คน ดูแล กลุ่มเป้าหมายคือสตรีวัยเจริญพันธุ์ใน 10 หมู่บ้าน จํานวน 933 ราย โดยส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝากครรภ์คุณภาพและส่งเสริมให้ไปใช้สิทธิ์ฟรีในการฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งโดยกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนาดูน ช่วงเดือนสิงหาคม 2556 ถึง เดือนพฤษภาคม 2557 และนําข้อมูลมาเปรียบเทียบกับข้อมูลฝากครรภ์ย้อนหลัง 3 ปี เพื่อประเมินผลโครงการ และศึกษาปัจจัยที่ทําให้มาฝากครรภ์ครั้งแรกเร็ว อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
                ผลการศึกษา สตรีมีครรภ์และเข้ามารับบริการฝากครรภ์ จํานวน 30 ราย ฝากครรภ์เร็วอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ จํานวน 16 ราย คิดเป็น ร้อยละ 53.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับขัอมูลการฝากครรภ์ ย้อนหลัง 3 ปี พบว่ามีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบปัจจัยที่ทําให้มีการฝากครรภ์เร็วขึ้นในบริบทโรงพยาบาลนาดูน ได้แก่ ระดับการศึกษา สิทธิในการรักษา      จํานวนครั้ง ในการตั้งครรภ์ และการออกเชิงรุกให้ข้อมูลของอสม. แต่ในกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี พบว่ามารับบริการฝากครรภ์ล้าช้า และร้อยละ 96 ของสตรีที่มารับบริการทั้งหมดยังไม่ได้รับรูู้ข้อมูลของโครงการฝากครรภ์ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ฯสรุปและอภิปรายผล การวิจัยครั้งนี้ถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะทําให้มีการมาฝากครรภ์เร็วเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ แต่ก็ยังมีสตรีมีครรภ์อีกกว่าครึ่งที่ยังมาเข้ารับบริการฝากครรภ์ช้า จึงควรทําการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องเพื่อประเมินผลของกิจกรรมนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดรวมถึงติดตามผลลัพธ์ต่อสุขภาพของมารดา ทารกในครรภ์ และการเจริญเติบโตของเด็กต่อไปด้วยนอกจากนี้ยังต้องกระตุ้นให้ อสม.ประชาสัมพันธ์โครงการฝากครรภ์ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ฯมากขึ้นเนื่องด้วยยังมีสตรีมีครรภ์ที่ยังไม่ทราบถึงโครงการนี้ ร้อยละ 96 พร้อมทั้งประสานคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น
จัดให้มีการให้ความรู้แก่นักเรียนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั้งการคุมกําเนิดและการฝากครรภ์คุณภาพ

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2556. โครงการฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก ( Health Card For Mother & Child ) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ. เอกสารโครงการ

บุหลัน สุขเกษม. 2554. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า 12 สัปดาห์ ของสตรีมีครรภ์ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. งานวิจัย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโง้ง

ชุติมา ปัตลา. 2552. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. งานวิจัย: โรงพยาบาลพนมไพร

บุญล้อม บัวทุม, มาลีวรรณ พรานไพร, สาวิตรี ดอนแก้ว. 2553 พฤติกรรมการมาฝากครรภ์ของสตรีมีครรภ์. งานวิจัย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผือน้อย

ข่าวเพื่อสื่อมวลชนสำนักงานสาระนิเทศและประชาสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุข. 2556. “รัฐบาลถวาย “โครง‏การฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=57603 (สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2557).

Abou-Zahr, Carla Lidia / Wardlaw, Tessa. Antenatal care in developing countries Promises, achievements and missed opportunities: an analysis of trends, levels and differentials, 1990-2001

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2552. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.nso.go.th/ (สืบคืนเมื่อ 5 มิถุนายน 2557)

สิทธิชน สุริยะวงศ์กุล และคณะ. 2556. การศึกษาเพื่อพัฒนาการมา early ANC ของโรงพยาบาลโชคชัย. งานวิจัย : โรงพยาบาลโชคชัย

ประหยัด ช่อไม้(บทคัดย่อ : 2554 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการฝากครรภ์หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ในสตรีมีครรภ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

กิจสิลักษณ์ วิไลวรรณ(บทคัดย่อ : 2555) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ของสตรีมีครรภ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-16