การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
อาหารสะอาดรสชาติอร่อย, รูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย
วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิด
การวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล เลือกพื้นที่ดำเนินการและผู้ร่วมวิจัยแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ร้านอาหารใน เขตอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ประชากรศึกษาได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวน 36 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติด้านสุขาภิบาลอาหาร วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : พบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย ด้วย 5 ขั้นตอนคือ การศึกษาบริบทพื้นที่ ประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหา/หาแนวทางแก้ไขร่วมกับภาคีเครือข่าย อบรมเชิงปฏิบัติการ นิเทศ/ติดตาม สรุปประเมินผลและได้รูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการได้แก่ประสานภาคี (Stakeholder) มีความรู้ (Training) ติดตามดูผลงาน (Advisor) การยอมรับข้อปฏิบัติ (Acceptance) เรียกว่า STAA Model ซึ่งรูปแบบที่ส่งผลให้ร้านอาหาร สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อยและหลังดำเนินงานผู้ประกอบร้านอาหาร มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)
สรุป : ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อยคือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยประยุกต์เทคนิคการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม และการยอมรับกฎเกณฑ์การปฏิบัติของผู้ประกอบการ
References
ธีระ ทัฬหวนิช. “รูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารร่วมกับแรงเสริมโดยสาธารณสุขอำเภอต่อสภาวการณ์ด้านสุขาภิบาลอาหารของแหล่งท่องเที่ยวไทย จังหวัดสมุทรปราการ,”
การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 21(1) : 43-50 ; มกราคม – มีนาคม. 77-91 ; มกราคม – มีนาคม,2543.
อะเคื้อ งามสระคู. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะการสุขาภิบาลอาหาร การทดสอบคุณภาพอาหารทางชีวภาพเบื้องต้น พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการค้าอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2543.
วัฒนา นันทะเสน. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาทุกสังกัดเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ สม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2545.
ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ และคณะ. โครงการกระบวนการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของชุมชน หมู่บ้านหนองบัว ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2551.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. รายงานประจำปี,2554.
โรงพยาบาลศรีวิไลศรีวิไล. รายงานประจำปี,2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม