การพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สําเริง ซึมรัมย์
  • สมศักดิ์ ศรีภักดี
  • จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์

บทคัดย่อ

               การวิจัยพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

              วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดําเนินงานและผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค เปรียบเทียบความรูปทัศนคติ การปฏิบัติตน การมีส่วนร่วมของชุมชนก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบ

             คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 48 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired sample t-test  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการสร้างแกนนําวัณโรคและพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคอย่างมีส่วนร่วม 4 โครงการ คือ 1) โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 2) โครงการชุมชนร่วมใจค้นหาผู้ป่วยวัณโรค 3) โครงการรณรงค์หมู่บ้านสะอาด 4) โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค แล้วนํารูปแบบ  ไปปฏิบัติโดยชุมชน ประเมินผลพบว่า ผูู้ป่วยวัณโรคได้รับการเยี่ยมบ้านและการดูแลให้กําลังใจจากชุมชนอย่างต่อเนื่องผู้ดูแลผู้ป่วยได้ใส่ใจดูแลและพาผู้่ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ชุมชนได้มีส่วนร่วมดําเนินงานในทุกขั้นตอน และมีภาคีเครือข่ายระหว่างชุมชุนกับหน่วยงานภาครัฐ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันวัณโรคในชุมชน ส่วนความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคของประชาชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังการพัฒนารูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <0.001)

References

สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานโรค ในระบบเฝ้าระวัง 506. นนทบุรี : สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ; 2554.

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการควบคุมวัณโรค. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ;2552.

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งการควบคุมวัณโรคอย่าง มีคุณภาพในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส
และการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่องาน วัณโรค.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2553.

วันทนา พรหมแบ่ง. การจัดการแบบมีส่วนร่วมของ ภาคีส ุขภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคไข้หวัดนก อําเภอ พัฒนานิคม จังหวัดชลบุรี . วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2552.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอําเภอสตึก เอกสารสรุปผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 ปี 2554.บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลสตึก ; 2554.

โรงพยาบาลสตึก. เอกสารรายงานสถานการณ์ วัณโรคป 2554. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาล สตึก ; 2554.

Kemmis, Stephen and Robin Mc Taggart. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria : Brown Prior Anderson National Library of Australia Catalouging In Publication Data ; 1990

Bloom, B. S. Taxonomy of Education Objective. New York : David Mackey ; 1976.

บําเพ็ญ เขียวหวาน. การวิจัยชุมชนและวางแผนพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.

อานนท์ณัฐ เล็กเนียม. “ประสิทธิผลของรูปแบบ การมีส่วนร่วมของแกนนําชุมชนในการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี”,วารสารสํานักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 1. 16 (1) : 44-48 ; มกราคม - มิถุนายน ; 2555.

บุษบง เจาฑานนท์และคณะ. “การป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมี ส่วน ร่วมจังหวัดลําพูน”, วารสาร ควบคุมโรค ; 2555, 38 (4) : 339-348.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-21