ผลของโปรแกรมปรับวิถีชีวิติการบริโภคอาหารเพื่อการควบคุมความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุมนา ชูใจ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) ในรูปแบบเป็น one group pretest – post test design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับวิถีชีวิติการบริโภคอาหารที่มีต่อการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง โดยประยุกต์ทฤษฏีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of Change ) โครงการได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์คือ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และมีค่าความดันโลหิต Systolic มากกว่า  140 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดัน Diastolic มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ในคลินิกอายุรกรรม  แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอ่างทอง โปรแกรมปรับวิถีชีวิติการบริโภคอาหาร ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการดูแลตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อลดค่าความดันโลหิต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามความรู้  ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารความดันโลหิตสูง และเครื่องวัดความดันโลหิต แบบบันทึกค่าความดันโลหิต โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558  ใช้แบบสอบถามชุดเดียวกัน ทั้งก่อนและหลังการทดลอง 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

                  ผลการศึกษานี้แสดงว่าโปรแกรมปรับวิถีชีวิติการบริโภคอาหาร มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารความดันโลหิตสูงดีขึ้น จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการให้คำแนะนำด้านการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อผู้ป่วยได้รู้วิธีการเลือกบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่ำ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

References

เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ. คนไทยกว่าครึ่งไม่รู้ตัวป่วยความดันโลหิตสูง อัตราเพิ่ม 5 เท่า. ไทยรัฐออนไลน์. (อินเทอร์เน็ต) 2555 (สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2555)แหล่งที่มา: http://www.thairath.co.th/ content/edu/261695

นพฏล สุทธิพงษ์. “รายงานการวิจัยเรื่องผลของการให้บริการคลินิกความดันโลหิตสูงอย่างมีแบบแผนในหน่วยบริการปฐมภูมิต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงปัตตานี” วารสาร สงขลานครินทร์เวชสาร; 2549 : 26 (2) ,21-35.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ และคณะ. “ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ” วารสาร มฉก.วิชาการ 21; 2552 :14 (27) , 21-35.

วิริยา สุขวงศ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2554.

สมจิตร ศรีรังษ์ ; 2554.ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต.น่าน : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-23