การพัฒนารูปแบบการบริการ การผ่าตัดผู้ป่วยโรคต้อกระจกแบบไม่ค้างคืนโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
คำสำคัญ:
one day surgery, cataract surgery, ต้อกระจก, การผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน, เลนส์แก้วตาเทียมบทคัดย่อ
โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เริ่มเปิดบริการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ในปี พ.ศ . 2551 และได้เปิดบริการทางจักษุวิทยาปี พ.ศ. 2553 มีระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคต้อกระจกในคลินิกจักษุ ซึ่งยังไม่มีรูปแบบและแนวทางการจัดบริการการผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกที่ชัดเจน ดังนั้นมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดบริการการผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและความพึงพอใจในรูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบเชิงปฏิบัติการ(Action research)โดย กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 227 ราย โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกและควรได้รับการผ่าตัด ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและยินยอมเข้ารับการผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนและแบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาระหว่าง เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2556
ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยต้อกระจกตกค้างได้รับการคัดกรองและตรวจรักษา จำนวน1,354 ราย ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ว่าเป็นโรคต้อกระจกและควรได้รับการผ่าตัดจำนวน 251 ราย มีผู้ยินยอมเข้ารับการผ่าตัดจำนวน 227 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ65.64 เพศชาย คิดเป็นร้อยละ34.36 ไม่พบการติดเชื้อ ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นภายในเวลา 30 วัน และลดระยะเวลาการรอคอยเพื่อผ่าตัดจากเดิม 6 เดือนเป็น 1 เดือน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ 85)
สรุปจากการศึกษาครั้งนี้ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาได้รูปแบบการผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืนโดยมีรูปแบบและขั้นตอนและการทำงานที่ชัดเจนจากการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพ สามารถนำไปใช้ได้กับสถานพยาบาลที่มีจำนวนบุคลากรด้านพยาบาลจำกัด ช่วยรักษาผู้ป่วยต้อกระจกได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดตลอดจนกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
References
วัฒนีย์ เย็นจิตรและคณะ. รายงานการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง โรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ครั้งที่ 4 ในประเทศไทย : 2549-2554.
สุทธิรักษ์ วิภูสันติ. ผลการคัดกรองผู้ป่วยต้อกระจกในเขตพื้นที่การให้บริการของโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา.ลำปางเวชสาร.2552;30 (1):18-26.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ,2550.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2550.
Abhirug Chiwiratana.Integrated Cataract Management.Thai Journal of Public Health Ophthalmology. 2009;22(1):33-41
World Health Organization.(2014). Visual impairment and blindness.[online]. 25 สิงหาคม 2557 แหล่งที่มา www.who.int/mediacentre/factsheets/fs282/en/.
WHO. Global data on visual impairments 2010.Geneva.Switzerland; 2012.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม