การนำสายเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรออก ผ่านทางหลอดเลือดดำด้วยการใช้เลเซอร์ เนื่องจากภาวะติดเชื้อจากการใส่เครื่อง ร่วมกับเปลี่ยนเป็นเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติแบบฝังไว้ในชั้นใต้ผิวหนังภายหลัง ในหน่วยตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

ผู้แต่ง

  • ชัชญาภา ศรีพรม ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  • ศุภลัคน์ กาญจนอุทัย
  • อานนท์ จันทะนุกูล
  • กนกอร ชำนาญ
  • อัจฉรา พุ่มสมบัติ

คำสำคัญ:

เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร, การนำสายเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรออกผ่านทางหลอดเลือดดำด้วยการใช้เลเซอร์, เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติแบบฝังไว้ในชั้นใต้ผิวหนัง

บทคัดย่อ

ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดอันตรายแก่ชีวิต (ventricular tachycardia , VT or Ventricular fibrillation ,VF) การรักษาที่ให้ผลดีที่สุด คือการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD)  เป็น class IA ตามคำแนะนำของแนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว(2) โดยประกอบด้วยตัวเครื่องฝังบริเวณหน้าอกซ้ายใต้ชั้นไขมัน และตัวสายที่ต่อจากเครื่องจะผ่านเข้าไปฝังปลายสายในผนังหัวใจ อาจมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า ร้อยละ 5 โดยเฉพาะติดเชื้อ(1) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แพทย์จึงต้องผ่าตัดเพื่อเอาเครื่องและนำสายเดิมออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อรุกรานไปสู่อวัยวะอื่นที่สำคัญโดยเฉพาะหัวใจ หากสายที่ฝังมาเป็นเวลานานแล้วการผ่าตัดนำสายออกโดยวิธีปกติอาจจะไม่สามารถดึงออกได้ จึงต้องมีการใช้พลังงานจากเลเซอร์เพื่อช่วยในการนำสายออกจากหัวใจได้ง่ายขึ้น เป็น Class I ตามคำแนะนำของ 2018 EHRA expert consensus statement on lead extraction(3,4)  หลังจากนั้นแพทย์อาจพิจารณาใส่เครื่องทางเลือกใหม่ โดยการใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติแบบฝังไว้ในชั้นใต้ผิวหนังให้แก่ผู้ป่วยที่เรียกว่า Subcutaneous  Implantable Cardioverter-Defibrillator, S-ICD เพื่อป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อไปสู่หัวใจ เป็น Class I ตามคำแนะนำของ 2017 AHA/ACC/HRS Guideline for Management of Patients With Ventricular Arrhythmias and the Prevention of Sudden Cardiac Death(5)

References

ชญานุตม์ สุวรรณเพ็ญ. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD) [อินเทอร์เน็ต]. 2013; สืบค้นเมื่อ10 ก.ค. 2564. จาก http://www.chulacardiaccenter.org/en/component/content/article/251-aicd.

ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการ ดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. (พิมพ์ครั้งที่1). สมุทรปราการ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด เนคสเตป ดีไซน์; 2562.

Adryan A Perez, Frank W Woo, Darren C Tsang, and Roger G Carrillo. Transvenous Lead Extractions: Current Approaches and Future Trends. Arrhythmia Electrophysiology Review. 2018; 7(3): 210–217.

Maria G. Bongiorni (Chair), Haran Burri (Co-chair), Jean C. Deharo, Christoph Starck, Charles Kennergren, Laszlo Saghy, et al . 2018 EHRA expert consensus statement on lead extraction: recommendations on definitions, endpoints, research trial design, and data collection requirements for clinical scientific studies and registries: endorsed by APHRS/HRS/LAHRS. European Society of Cardiology. 2018; (20): 1217a-1217j.

Sena M. AI-Khatib, William G. Stevenson, Michael J. Ackerman, William J. Bryant, David J. Callans, Anne B. Curtis, et al. 2017 AHA/ACC/HRS Guideline for Management of Patients With Ventricular Arrhythmias and the Prevention of Sudden Cardiac Death. Circulation. 2018;138:e272–e391.

Spectranetics, Inc. Lead Management Using Spectranetics Laser Technology , USA. 2011;32-45

Stefano Cappelli, Alina Olaru, Elia De Maria. The subcutaneous defibrillator: who stands to benefit. European Society of Cardiology. 2014;12:17

Zak Loring, Emily P Zeitler, Daniel J Friedman, Kristen B Campbell, Sarah A Goldstein, Zachary K Wegermann, et al. Complications involving the subcutaneous implantable cardioverter-defibrillator: Lessons learned from MAUDE. Heart Rhythm. 2020;17(3):447-454.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30