ผลของการวางแผนจำหน่าย ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเสลภูมิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การวางแผนจำหน่าย, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของโลก การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ ในปีงบประมาณ 2556 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร้อยละ 80 มีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการวางแผนการจำหน่ายที่เป็นระบบ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วย และการใช้กระบวนการพยาบาล ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เป็นแนวทางในการวิจัย การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างก่อนและหลังได้รับการวางแผนจำหน่าย เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการวิจัย 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสลภูมิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ระยะเวลาในการศึกษาคือ เดือนสิงหาคม ถึงเดือน ตุลาคม 2558 จำนวน 30 ราย โดยการเลือกแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-METHOD และแบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังได้รับการวางแผนจำหน่าย ไปแล้ว 3 เดือน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการวางแผนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภายหลังได้รับการวางแผนจำหน่าย ไปแล้ว 3 เดือน มีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ที่ต่ำกว่าก่อนได้รับการวางแผนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุป การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน\โดยใช้รูปแบบ D-METHOD สามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ดีขึ้นและส่งผลให้ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรนำการวางแผนจำหน่ายมาใช้ในการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
ทวี ศิริวงศ์ และอุดม ไกรฤทธิชัย. กลเม็ดเคล็ดลับทำอย่างไรไตไม่วาย. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ; 2548
เกษิณี เพชรศรี. การจัดการด้านคุณภาพในการวางแผนจำหน่ายของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศูนย์ในภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2549
ปารณา มูลศรี. การพัฒนาการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในชุมชน ของโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2553
สริญญา ปิ่นเพชร. ผลของรูปแบบการดูแลต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลตนองและการรับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และพฤติกรรมในการดูแลของครอบครัว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2552
พัชรา พันธ์ขะวงษ์. ประสิทธิผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ในวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2547
Lowenstein, Arlene J and Patricia S. Hoff. “Discharge Planning : A Study of Nursing Staff Involvement,” Journal of Nursing Administration. 24(4) : 45-57 ; April, 1994.
สุพัตรา สรรพกิจบำรุง. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดชนิดไม่พึ่งอินซุลิน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา :มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ; 2551
พรทิพย์ โคตรสมบัติ. การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ : การส่งเสริมควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2550
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม