การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดด้วยวิธีใช้เครื่องให้ยาระงับปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ,การให้ยาระงับปวดมอร์ฟีนทางช่องเหนือไขสันหลัง (อิพิดูรัล) และ การให้ยาระงับปวดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำโดยให้ตามเวลาที่กำหนด ในผู้ป่วยหลังเข้ารับการผ่าตัดนิ่วที่ไตแบบเปิด (Anatrophic nephrolithotomy) ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การระงับปวดหลังผ่าตัด, การผ่าตัดนิ่วแบบเปิดบทคัดย่อ
บทนำ การผ่าตัดนิ่วในไตแบบเปิด (ANL) ทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจได้ ดังนั้นการระงับปวดที่ดีช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลทั้งยังมีผลดีต่อภาวะจิตใจของผู้ป่วยและญาติ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดด้วยวิธีใช้เครื่องให้ยาระงับปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ (IV PCA FENTANYL), การให้ยาระงับปวดมอร์ฟีนทางช่องเหนือไขสันหลัง (อิพิดูรัล) (Epidural Morphine) และ การให้ยาระงับปวดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำโดยให้ตามเวลาที่กำหนด (IV around the clock) ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดนิ่วในไตแบบเปิด (Anatrophic nephrolithotomy) ของโรงพยาบาลมหาสารคาม ในเดือนตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2558 นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบความคุ้มทุน ภาวะแทรกซ้อนและระดับความพึงพอใจ ในการระงับปวดด้วยวิธีต่างๆ
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษานำร่องในกลุ่มประชากรที่เข้ารับการผ่าตัดนิ่วในไตแบบเปิดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายจำนวน 60 คนจากนั้นจะได้รับการสุ่มแบ่งกลุ่มเป็น 3กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดด้วยวิธี IV PCA FENTANYL, Epidural Morphine และ IV morphine around the clock ลงบันทึกระดับความปวด ภาวะแทรกซ้อนค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และระดับความพึงพอใจของการระงับปวดหลังผ่าตัดทั้ง 3 กลุ่ม
ผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในทั้ง 3 กลุ่ม พบว่ากลุ่ม Epidural Morphine มีระดับความปวดน้อยกว่ากลุ่ม IV around the clock อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ IV PCA FENTANYL ที่เวลาเดียวกัน ภาวะแทรกซ้อนกลุ่ม Epidural Morphine ทำให้คัน p=0.001 และ IV PCA ทำให้คลื่นไส้อาเจียน p=0.032 เมื่อเทียบกับกลุ่ม IV around the clock นอกจากนี้ IV around the clock ยังมีค่าความคุ้มทุนน้อยที่สุดใช้ค่าใช้จ่ายมากที่สุดและได้คะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
สรุป Epidural Morphine มีประสิทธิภาพในการระงับปวดหลังผ่าตัดนิ่วในไตแบบเปิดและมีระดับความพึงพอใจในการระงับปวดมากกว่ากลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามกลุ่ม Epidural Morphine อาจทำให้เกิดอาการคันได้ กลุ่ม IV around the clock มีค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลมากที่สุด และมีค่าความคุ้มทุนน้อยที่สุด ดังนั้นจึงพิจารณาได้ว่า Epidural Morphine เป็นทางเลือกที่ดีในการระงับปวดหลังผ่าตัดนิ่วในไตแบบเปิด (ANL)
References
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด.กรุงเทพมหานคร : ราชวิทยาลัย;2554.
Geetha C.R, Tejesh C. A, Prathima P.T. Anesthetic management of Anatrophic nephrolithotomy. Journal of Evolution of Medical and Dental Sciences 2013;16(2): 2648-2651.
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางการรักษาพยาบาลด้านศัลยกรรม Clinical Practice Guidelines in surgery สาขา ศัลยศาสตร์ยูโร.เรื่อง:โรคนิ่วในไต.กรุงเทพมหานคร:ราชวิทยาลัย;2554.
John A., Libertino and Chad Wotkowicz. Renovascular disease. Glenn’s urologic surgery .seventh edition; Lippincott William &Wilkins; October 26,2009.
Lombard M.C., J.M. Besson . Attempts to gauge the relative importance of pre- and postsynaptic effects of morphine on the transmission of noxious messages in the dorsal horn of the rat spinal cord .Pain, 1989:37:335-345..
Sivilotti L.G., G. Gerber, B. Rawat, C.J. Woolf. Morphine selectively depresses the slowest, NMDA-independent component of C-fibre-evoked synaptic activity in the rat spinal cord in vitro. Eur J Neurosci, 1995:7: 12–18.
Bader P, Echtle D, Fonteyne V, De Meerleer G, Papaioannou EG, Vranken JH. Guidelines on pain management . Arnhem, The Nethelands: European Association of Urology (EUA);2009 Mar.p.62-82.
George KA, Wright PM, Chisakuta AM, Rao NV. Thoracic epidural analgesia compared with patient controlled intravenous morphine after upper abdominal surgery. Acta Anaesthesiol Scand 1994; 38 : 808-812.
Werawatganon T, Charuluxanun S. Patient controlled intravenous opioid analgesia versus continuous epidural analgesia for pain after intra-abdominal surgery. The Cochrane Database of Systematic Reviews 2005; Issue 1: CD004088.
Wu CL, Cohen SR, Richman JM, Rowlingson AJ, Courpas GE, Cheung K, et al. Efficacy of postoperative patient-controlled and continuous infusion epidural analgesia versus intravenous patient-controlled analgesia with opioids: A meta-analysis. Anesthesiology 2005; 103: 1079-88.
Jeffrey A. Grass, MD, MMM. Patient-Controlled Analgesia. Anesth Analg 2005;101:S44-S61.
Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, et al. Consensus guidelines for managing postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg 2003;97:62–71.
Boonmak S, Boonmak P, Bunsaengjaroen P, Srichaipanha S, Thincheelong V. Comparison of intrathecal morphine plus PCA and PCA alone for post-operative analgesia after kidney surgery. J Med Assoc Thai 2007;90:1143-1149.
Bozkurt P - The analgesic effi cacy and neuroendocrine response in pediatric patients treated with two analgesic techniques: using morphine-epidural and patient-controlled analgesia. Paediatr Anaesth, 2002;12:248-254.
Charuluxananan S, Somboonviboon W, Kyokong O, Nimcharoendee K. Ondansetron for treatment of intrathecal morphine-induced pruritus after cesarean delivery. Reg Anesth Pain Med 2000;25:535-539.
Warwick JP, Kearns CF, Scott WE. The effect of subhypnotic doses of propofol on the incidence of pruritus after intrathecal morphine for caesarean section. Anaesthesia 1997;52:270-5.
Charuluxananan S, Kyokong O, Somboonviboon W, Narasethakamol A, Promlok P. Nalbuphine versus ondansetron for prevention of intrathecal morphine-induced pruritus after cesarean delivery. Anesth Analg 2003;96:1789-1793.
Bonnet MP, Marret E, Josserand J, Mercier FJ. Effect of prophylactic 5-HT3 receptor antagonists on pruritus induced by neuraxial opioids: A quantitative systematic review. Br J Anaesth 2008;101:311-319.
Kamal Kumar, Sudha Indu Singh, Neuraxial opioid-induced pruritus: An update. Journal of Anaesthesiology clinical Pharmacology, 2013:29:3:303-307.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม