การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่มีการขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือดสมองสาเหตุอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกหรือการอุดกั้นจากก้อนเลือดทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายการรักษาโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันเป็นสิ่งสำคัญมาก สามารถเปลี่ยนการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis)
กรณีศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 74 ปี มาด้วยอาการแขนขาขวาอ่อนแรง 20 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Lacunar Infarction) ได้ให้การพยาบาลเกี่ยวกับลดภาวะสมองบวม ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือดและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ภายใน 40 นาที หลังให้ยาละลายลิ่มเลือด ประเมินสัญญาณชีพหลังให้ยา ทุก 15 นาที ใน 2 ชั่วโมง ทุก 30 นาที ใน 6 ชั่วโมง ความดันโลหิต 140-200/90-100 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 94-98 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 36.3-37.3 องศาเซลเซียส หลังให้ยาหมดผู้ป่วยมีอาการซึมลง Glasgow coma scale ได้ E1V1M5 สัญญาณชีพ ความดันโลหิต 200/100 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 98 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 37.3 องศาเซลเซียส แพทย์สั่งให้ on ET Tube with Bird’s respirator ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะสมองบวม ลดความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วย off ET tubeในวันที่ 2 หลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อมาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 8 วัน พยาบาลให้ความรู้และแนะนำวิธีการดูแลแก่ญาติผู้ดูแลผู้ป่วย ก่อนกลับบ้าน และมีการนัดตรวจซ้ำ 1 เดือน ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 46,720 บาท
ผลลัพธ์ ผู้ป่วยไม่มีอันตรายจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันในระยะฉุกเฉิน สามารถแก้ไขปัญหาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ลดภาวะสมองบวมโดยใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เรื่องโรค การฟื้นฟูสภาพ และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
References
สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 4. กรุงเทพฯ: หจก.วี.เจ.พริ้นติ้ง; 2552.
รัตนาภรณ์ คงคา และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง. ใน ปราณี ทู้ไพเราะ, วันดี โตสุขศรี และศรินรัตน์ ศรีประสงค์ (บรรณาธิการ). การพยาบาลอายุรศาสตร์ 1 .กรุงเทพฯ: หจก.เอ็นพีเพรส; 2552. (หน้า 85 – 97).
พรภัทร ธรรมสโรช. โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2555.
สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป (Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke). กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2550.
Sander, R. Nursing Older People. Prevention and treatment of acute ischaemic stroke; 2013. pp. 34 -36.
สราญ ฟางทสวัสดิ์. ประสบการณ์ของญาติที่ได้เยี่ยมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลระยะ 5 วันแรก.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
Cameron, V. Best Practices for Stroke Patient and Family Education in the Acute Care Setting : A Literature Review. MEDSURG Nursing ; 2013. 51-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม