การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นฤมล แก่นสาร

คำสำคัญ:

ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง

บทคัดย่อ

            โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease: ESRD) เป็นภาวะไตสูญเสียหน้าที่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหรือมากกว่า 3 เดือน ส่งผลให้ไตไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกได้ จึงจำเป็นต้องมีการบำบัดทดแทนไต ซึ่งการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis : CAPD) เป็นวิธีการรักษาที่ง่าย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนน้ำยาได้เองที่บ้าน ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือราคาแพงมาก แต่การล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง มีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา และการดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการติดเชื้อ และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

            กรณีศึกษา : เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย (ESRD) และได้รับการรักษาโดยการทำการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ ปวดท้อง น้ำยาล้างไตขุ่น วินิจฉัยเป็น ESRD with Infected CAPD ได้รับการรักษาโดยได้รับยาAntibiotic ทั้งสองราย แต่ผู้ป่วยรายที่ 2 การติดเชื้อไม่ดีขึ้น แพทย์จึงพิจารณาหยุดการทำ CAPD เปลี่ยนแผนการรักษาโดยการทำ Hemodialysis จนกว่าการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจะดีขึ้น จึงจะวางแผนการรักษาแบบ CAPD อีกครั้ง ผู้ป่วยทั้ง 2รายได้รับการดูแลแบบองค์รวม และประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพของ Gordon นำข้อวินิจฉัยการพยาบาลมาใช้ตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย  ผู้ป่วยทั้ง2ราย อาการดีขึ้น แพทย์ให้กลับบ้าน โดยผู้ป่วยรายที่ 1 ให้ทำ CAPD ต่อโดยให้ Antibiotic ผสมในน้ำยา CAPD และนัดติดตามผลการรักษา 2 สัปดาห์ รายที่ 2 นัดให้มาทำ Hemodialysis ทุกวันจันทร์กับพฤหัสบดี และวางแผนการรักษาแบบ CAPD อีกประมาณ1-1/2 เดือน

            ผลลัพธ์ : ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจากการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง หากได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วและถูกต้อง สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้น พยาบาลจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรค ยา และอาการข้างเคียงของยา การประเมินอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง ให้การพยาบาลตามการปรับเปลี่ยนแผนการรักษาของแพทย์ รวมถึงการประเมินความพร้อมในการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การตรวจตามนัด และการดูแลต่อเนื่องกับสถานบริการใกล้บ้าน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการวางแผนการดูแลต่อเนื่อง 

References

Praditpornsilpa K. Report of the Thailand renal replacement therapy year 2008. Bangkok: Nephrology Society of Thailand; 2008.

อิษณี พุทธิมนตรี. Nursing Role in The Prevention of CKD. ใน การประชุมวิชาการชมรมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทยประจำปี 2550. Management of Diabetic Patients with Chronic Kidney Disease. กรุงเทพฯ: ชมรมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย;2550.

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. ข้อมูลการรักษาทดแทนไตด้วย CAPD ในประเทศไทย.ในสมชาย เอี่ยมอ่องและคณะ (บรรณาธิการ). Textbook of Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่นจำกัด, : 54;2551.

ชูชัย ศรชำนิ. การพัฒนานโยบายการดูแลโรคไตระยะสุดท้ายและการบริหารค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการ
โรคเพื่อดูแลโรคไตเรื้อรังและรักษาทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ (บรรณาธิการ). Textbook of Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่นจำกัด: 29; 2551.

ศิริรักษ์ อนันต์ณัฐศิริ. การติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างช่องท้องชนิดถาวร. ในทวี ศิริวงศ์ (บรรณาธิการ). การล้างช่องท้องอย่างถาวรสองฝั่งโขง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, : 75-81;2549.

ศรินยา พลสิงห์ชาญ. การปรับตัวของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Nationa Kidney Disease: K/DOOI.Clinical practices guideline for chronic kidney disease: evaluation, classification and stratification. Kindney/Dialysis Outcome Quality Initiation. American Journal Kidney Disease, 39(2supply1) : S1-S266; 2002.

ทวี ศิริวงศ์.Update on CKD prevention: Strategies and practical Point. สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

กิตติมา จันทร์โอ และสุธิดา โตพันธานันท์. การพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องปกติที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และ คณะ (บรรณาธิการ), Textbook of Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่นจำกัด;2551.

เจริญ เกียรติวัชรชัย. เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากแบคทีเรีย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ National Symposium on Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis and Basic Lacture Course ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2542. ขอนแก่น : คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2542.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยซี เอ พี ดี. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2544.

Ponferrada, L. et al. Home visit effectiveness for peritoneal dialysis. ANNA Journal20(3) : 333-336;1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-24