การพยาบาลผู้ป่วยการหายใจล้มเหลวจากภาวะ ช็อคจากการติดเชื้อ
คำสำคัญ:
ภาวะช็อคจากติดเชื้อ, ภาวะการหายใจล้มเหลวบทคัดย่อ
บทนำ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (Septic shock) เป็นภาวะที่การอักเสบแพร่กระจายทั่วร่างกายโดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆที่พบได้บ่อย คือการติดเชื้อในปอด ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง จากภาวะการหายใจล้มเหลว (Acute Respiratory Failure)
กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 79 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล สำลักอาหาร มีไข้ ไอมีเสมหะและรับประทานได้น้อย 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยซึมลง เรียกไม่รู้สึกตัว ญาตินำส่งโรงพยาบาลท่าวุ้ง ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว แพทย์ใส่ Endotracheal tube และ ให้0.9% NSS 1000 cc. ⓥ drip 80 cc./hr. ใส่คาสายสวนปัสสาวะ ให้ Fortum 1 gm ⓥStat ส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จ. ลพบุรี วินิจฉัย Septic shock with Acute respiratory failure on volume ventilator, CMV mode, FiO2 0.4, set TV 500 ml. หายใจ 20 ครั้ง/นาที สัญญาณชีพแรกรับอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส ชีพจร 100 ครั้ง/นาที หายใจ 32 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 120/70 มิลลิเมตรปรอท O2 Sat 90% ปลายมือปลายเท้าเย็น ให้การพยาบาลเกี่ยวกับการประเมินภาวะพร่องออกซิเจนและดูแลผู้ป่วยขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ เฝ้าระวังภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ และการติดเชื้อ ดูแลให้ได้รับยา Fortum 2 gm ⓥ q 8 hrs., Amikin 500 mg. ⓥ OD X 2 days จากนั้นให้ Imipenam 500 mg.ⓥ q 6 hrs. ตามแผนการรักษา ผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ในวันที่ 5 และย้ายไปหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ผู้ป่วยอาการทั่วไปดีขึ้น วางแผนจำหน่าย ให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมระยะเวลาในการนอนรักษาพยาบาล 8 วัน นัดมาตรวจซ้ำอีก 2 สัปดาห์ คือวันที่ 9 มีนาคม 2558 ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 58,315 บาท
ผลลัพธ์ ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากภาวะช็อคจากการติดเชื้อและภาวการณ์หายใจล้มเหลว ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เรื่องโรคและการจัดการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ และการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ
References
Wikipedia. Sepsis 2015 [cited 2558 June 15]: Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Sepsis
แผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษา severe sepsis และ septic shock. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข2554.
อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย. ตำราโรคติดเชื้อ. ใน พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, สุรภี เทียนกริม, เพลินจินทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์, ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์ และคณะ(บรรณาธิการ). โรคติดเชื้อในระบบการหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง จำกัด; 2548.
พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล, นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง. ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้แนวทางเวชปฏิบัติ. พุทธชินราชเวชสาร 2550; 24(1): 33-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม