ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ

ผู้แต่ง

  • ปลมา โสบุตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
  • ณิชาภัตร พุฒิคามิน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง
           รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (correlational predictive study) จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เพศ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ คะแนนระดับความรู้สึกตัว (GCS) แรกรับ ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่พบความผิดปกติ การผ่าตัดชนิด Decompressive craniectomy ภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (Hypoxia) ภาวะ Hyperglycemia ภาวะไข้และภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำสามารถทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมงหลังสมองได้รับบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563  ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์คัดเข้าศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 285 ราย เก็บข้อมูลโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ดังนี้ 1 วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) และ 2 วิเคราะห์ปัจจัยทำนายความรุนแรงในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก(multiple logistic regression analysis)

           ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 ราย มีอายุระหว่าง 18-89 ปี อายุเฉลี่ย 45.73 (SD =19.70) เป็นเพศชาย ร้อยละ 81.80 ส่วนใหญ่สมองบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 63.90 และ ตกจากที่สูงหรือหกล้ม ร้อยละ 30.50 กลุ่มตัวอย่างสมองบาดเจ็บระดับปานกลาง ร้อยละ 49.80 และระดับรุนแรงร้อยละ 50.20 พบอัตราการเกิดความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง (คะแนน RTS ≤  4 คะแนน) ร้อยละ 24.90 ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง ได้แก่ Glasgow Coma Score แรกรับ 3-8 คะแนน (ORAdj=39.77; 95%CI: 14.04-112.65; p–value<.001), ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบ Intracerebral hemorrhage (ORAdj=3.38; 95%CI=1.25-9.13:; p–value=.001), subarachnoid hemorrhage (ORAdj=2.94; 95%CI: 1.31-6.60; p–value=<.0.01) และ O2 sat แรกรับ 90%  (ORAdj =8.74; 95%CI : 1.32-57.64 ; p–value

=0.02)
                              สรุปผลการศึกษา : พยาบาลสามารถนำข้อมูลปัจจัยทำนายไปวางแผนดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ

References

World Health Organization [WHO], World road safety report 2015 .

https://www.afro.who.int/sites/default/files/2017-06/summary%20

thailand.pdf.2015.

Roozenbeek, B., Maas, A., & Menon, D. Changing patterns in the epidemiology of traumatic brain injury. Nature Reviews Neurology 2013; 9(4), 231–236.

Maas , A.I.R., Stocchetti, N., & Bullock, R. Moderate and severe traumatic brain injury in adults. Lancet Neurol Aug. 2008 ;7(8): 728-741.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. สายด่วนศูนย์ปลอดภัยคมนาคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม; 2558.

National Institute of Neurological Disorders and Stroke [NINDS]. Traumatic brain injury: Hope through research. Maryland: National Institute of Health.2015.

Helmy, A., Vizcaychipi, M., & Gupta, A.K. Traumatic brain injury: Intensive care management. British Journal of Anaesthesia. 2007; 99(1): 32–42.

เฟื่องสิริ ต่อดำรง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์. วารสารแพทย์เขต. 2560; 36(3): 138-144.

ณัฐธยาน์ พันธุออน. ณิชาภัตร พุฒิคามินและจักรกฤษณ์ ปริโต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2562; 42(4): 1-9.

Kan, C., Saffari, M., & Khoo, T.H. Prognostic factors of severe traumatic brain injury outcome in children aged 2-16 years at a major neurosurgical referral center. Malays J Med Sci. 2009; 16(4): 25-33.

Tohme, S., Delhumeau1, C., Zuercher, M., Haller, G., & Walder, B. Prehospital risk factors of mortality and impaired consciousness after severe traumatic brain injury: an epidemiological study. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine. 2014; 22(1): 1-9.

Bedry, T. & Tadele, H. Pattern and outcome of pediatric traumatic brain injury at Hawassa University Comprehensive Specialized Hospital, Southern Ethiopia: Observational cross-sectional study. Emergency Medicine International 2020 ; 1–9. doi:10.1155/2020/1965231

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. Boston, PWS Publishers 2000;2, 140-246.

Zohre Najafka, Hossien Zakerib, Amir Mirhaghic. The accuracy of acuity scoring tools to predict 24-h mortality in traumatic brain injury patients: A guide to triage criteria. International Emergency Nursing, http://dx.doi.org/10.1016/j.ienj.2017.08.003.

วราวุธ กิตติวัฒนากูล. Intracerebral hemorrhage: Thai CPG. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2562; 5(3): 48-56.

Gollwitzer, S., Groemer, T., Rampp, S., Hagge, M., Olmes, D., Huttner, H. B.,Hamer, H. M. Early prediction of delayed cerebral ischemia in subarachnoid hemorrhage based on quantitative EEG: A prospective study in adults. Clinical Neurophysiology. 2015;126(8): 1514-1523.

Murthy, T. Prehospital care of traumatic brain injury. Indian J Anaesth 2005; [serial online] 2008 [cited 2021 Jul 24]; 52: 258-263. Available from:https://www.ijaweb.org/text.asp?2008/52/3/258/60632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30