ความรู้และการรับรู้ความพร้อมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กฤษฎิ ชายสวัสดิ์

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ความพร้อมของบุคลากร, การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการรับรู้ความพร้อมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออาจสามารถ  5 แห่ง จำนวน 104  คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอนได้แก่ลักษณะทางประชากร แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตาม  พรบ.  หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.  กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.76  และค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.79 และแบบวัดการรับรู้ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น  มีค่าความเชื่อมั่นโดยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.54 ถึง 0.82  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

                                                ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรองค์กรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย  43  ปี สถานสมรสคู่   จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ  เป็นสมาชิกสภาเทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติงานมาแล้วเฉลี่ย 4 ปี  รายได้เฉลี่ย 6,473 บาท  เคยได้รับอบรม/ประชุม/สัมมนาหรือศึกษาดูงานเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจากสถานีอนามัยและเคยได้รับข้อมูลข่าวสาร เรื่อง การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจากวิทยุ มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545   และความรู้ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542  โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 86.3 และ 94.3 ตามลำดับ และมีการรับรู้ความพร้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นโดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการรับรู้ความพร้อมด้านบุคลากรและด้านงบประมาณมากที่สุด  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการรับรู้ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07