ผลลัพธ์การพัฒนาแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วน(Fast track guideline)และการปรับปรุงระบบในหน่วยงานสำหรับผู้ป่วย Acute coronary syndrome ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง

ผู้แต่ง

  • กุลลดา เลียวเสถียรวงค์

คำสำคัญ:

แบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วน, ผู้ป่วย Acute coronary syndrome, ความเสี่ยงทางคลินิก, ความเสี่ยงเฉพาะโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์  : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วย Acute coronary  syndromeช่วงที่1และช่วงที่2 

                                       หลังจากการมีแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วน

                                : เพื่อหาสาเหตุหรือปัญหาจากการพัฒนาระบบแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วนเพื่อหาแนวทางแก้ไข

: เพื่อหาภาวะเสี่ยงเฉพาะโรคที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต

รูปแบบการวิจัย      :  การศึกษาเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ข้อมูลไปข้างหน้า

วิธีการทำวิจัย          :  รวบรวมผู้ป่วย Acute coronary syndromeได้แก่ผู้ป่วย STEMI, NSTEMI, Unstable angina high risk   หลังการมีแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วนช่วงที่1ในระหว่าง กันยายน 2550 - เมษายน 2551 จำนวน  57 รายและหลังการมีแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วน ช่วงที่2ในระหว่างพฤษภาคม 2551 - สิงหาคม 2551 จำนวน 80 ราย โดยมีการวิเคราะห์ปัญหาของการดูแลผู้ป่วย ความเสี่ยงทาง  คลินิก  ความเสี่ยงเฉพาะโรคที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

ผลการศึกษา      :เมื่อ เปรียบเทียบผู้ป่วย Acute coronary syndrome.ในระหว่างพฤษภาคม 2551 - สิงหาคม 2551และ กันยายน  2550 - เมษายน 2551 พบว่าการซักประวัติและวัด vital sign ได้ถูกต้อง 87.5% (ก่อน 81.45%) , EKGภายในระยะเวลา 10 นาที90%(ก่อน76.89),ได้รับยาASA/nitrate(isordil SL)ทันทีภายในระยะเวลา 15 นาที 95%(ก่อน71.16%), ได้รับยา Enoxaparin/Streptokinaseภายในระยะเวลา30นาทีถ้าไม่มีข้อห้าม 97.5%  (ก่อน89.02%), ได้รับผลทางพยาธิ

วิทยา (lab MI) ภายในระยะเวลา 30-60นาที97.5%(ก่อน98.54%), มีการเฝ้าระวังในยาhigh alert drugทุกครั้งเมื่อได้รับยา Enoxaparin/Streptokinase98.75%(ก่อน68.67%),  พยาบาล ICU สามารถอ่าน EKGได้ถูกต้อง92.5%(ก่อน75%), มีdischarged plan ก่อนจำหน่ายอย่าง  เหมาะสมและเป็นสหสาขาวิชาชีพ80%(ก่อน34.71%), เสียชีวิตไม่คาดหวัง3.05%(ก่อน1.66%), ได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย97.5% (ก่อน100%)  นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ติดตามนั้นเป็นกลุ่ม Killip classification class 3 คิดเป็น 27%, Killip classification class 4 คิดเป็น 8.02%, ภาวะหัวใจ  เต้นผิดจังหวะ VT/VF1.45%, AV Block2.18%,  AF 4.37%, SVT 1.45%, Atrial flutter 0.72%  สำหรับปัญหาจากการพัฒนาระบบดังกล่าวพบว่ามีเสียชีวิตไม่คาดหวังเพิ่มขึ้นและเกิดความเสี่ยง ระหว่างที่มีการส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์เพิ่มขึ้นจึงเกิดการพัฒนาได้แก่ ปรับปรุงแนวทางการรักษาGuide l เพิ่มเติมเรื่องAtypical angina pain ในกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง ผู้ป่วยสูบบุหรี่    การพัฒนาคลินิกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่ม

สรุป        :  การพัฒนาแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วนร่วมกับการปรับปรุงพัฒนาทักษะการดูแล ผู้ป่วยภายในหน่วยงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่องทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นแต่ต้องมีการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ มีAtypical angina painในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง ผู้ป่วยสูบบุหรี่ และพัฒนาเครือข่ายระบบการส่งต่ออย่างเหมาะสมต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07