ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนจากการคัดกรองทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพะเยา

ผู้แต่ง

  • พรรณราย ศรีสุวรรณ

คำสำคัญ:

ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน, ทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

ภาวะปัญญาอ่อนแต่กำเนิดทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคลเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูงซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันและรักษาได้โดยการคัดกรอง ตั้งแต่หลังคลอด  และรีบรักษาทันทีที่ทราบผลผิดปกติ ก่อนอายุ3 เดือนจะทำให้เด็กมีสติปัญญาปกติ

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดโรคภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนของรพ.พะเยาในเพื่อการป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในทารก

 วิธีการศึกษา

ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่เกิดโรงพยาบาลพะเยาและได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2551 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หา อุบัติการณ์ และศึกษาข้อมูลต่างๆเชิงพรรณนาการวินิจฉัยเปรียบเทียบแนวโน้มของการเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน

 ผลการศึกษา

พบว่าทารกแรกเกิดมีชีพในปีงบประมาณ 2545-2551 จำนวน 13,113 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนเป็นจำนวน 13,110  รายคิดเป็นอัตราความครอบคลุมร้อยละ 99.97  อัตราทารกที่สามารถติดตามมาเจาะเลือดซ้ำได้เฉลี่ยในช่วง 7 ปีที่ศึกษาเท่ากับร้อยละ 89.13, ทารกที่มาตรวจเลือดซ้ำจำนวน 46 รายได้รับการตรวจวัดระดับ serum T4 และ TSH พบความผิดปกติรวม 3 รายคิดเป็นอุบัติการณ์เท่ากับ 1: 4,378  ของทารกเกิดมีชีพ มีทารกที่ได้รับการรักษาด้วยยา levothyroxine รวม 3 ราย เมื่อติดตามผลการรักษาทุกรายมีพัฒนาการปกติ

สรุป

การคัดกรองทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลพะเยาในช่วงปีงบประมาณ 2545-2551 โดยพบอุบัติการณ์ของภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนเท่ากับ 1:4,378  ของทารกเกิดมีชีพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07