ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นโรงพยาบาลมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ใน หญิงวัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาสารคาม
ชนิดของการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
สถานที่ที่ทำการวิจัย : หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม
กลุ่มตัวอย่าง : หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาสารคาม ในระหว่างวันที่ สิงหาคม 2551 ถึง 31 กรกฎาคม 2552
วิธีการวิจัย : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน
ผลการวิจัย : หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรในช่วงเวลาที่ศึกษา มีทั้งสิ้น 2,667 ราย เป็นวัยรุ่น 352 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คิดเป็น ร้อยละ13.2 ซึ่ง เป็นการ ตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 85.8 อายุขณะตั้งครรภ์เฉลี่ย 17.6 ± 1.4 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดป็นร้อยละ 62.2 อาชีพ แม่บ้าน ร้อยละ 61.9 ฝากครรภ์ 4 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 83.0 อายุครรภ์ที่คลอดมากกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ83.8 คลอดปกติ คิดเป็นร้อยละ 58.2 น้ำหนักทารกเฉลี่ยแรกคลอด 2886.2 ± 499.4 กิโลกรัม ภาวะแทรกซ้อนที่พบในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น คือมี ภาวะโลหิตจาง ภาวะคลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์เป็นพิษ คิดเป็น ร้อยละ 17.6, 15.4, และ 5.4 ตามลำดับ
สรุป : จะเห็นว่า อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นของโรงพยาบาลมหาสารคาม พบ ร้อยล่ะ 13.2 ส่วนภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์วัยรุ่นที่พบมากที่สุด คือ ภาวะโลหิตจาง ภาวะคลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งใกล้เคียงกับรายงานอื่น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม