การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี ใหมโบราณ โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น
  • อาภัสรา พันขาม
  • นุชนาฏ แสนสุข

คำสำคัญ:

บันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ, คุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบการบันทึกการวางแผนทางการพยาบาล 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อแบบบันทึกทางการพยาบาล และ 3. เพื่อเพิ่มคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล

          รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development : R&D) ศึกษาในประชากรที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น จำนวน 12 คน ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกการวางแผนทางการพยาบาลที่พัฒนาโดยผู้ศึกษา แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลที่ครอบคลุมกระบวนการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงของเครื่องมือ (CVI)  เท่ากับ 0.932 และค่าความความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.913 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของความพึงพอใจของพยาบาล โดยใช้สถิติ Paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

          ผลการศึกษา : หอผู้ป่วยวิกฤตมีรูปแบบบันทึกการวางแผนทางการพยาบาลเป็นระบบและมีความเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละราย ความพึงพอใจต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.04, S.D. = 0.62) ด้านประโยชน์ต่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย ด้านเวลาและความสะดวกในการบันทึกและด้านความพึงพอใจของพยาบาลต่อระบบการบันทึกอยู่ในระดับมาก
(=  4.24, 3.80, 4.00 ตามลำดับ S.D. = 0.57, 0.98, 0.82 ตามลำดับ) ลดระยะเวลาในการบันทึกทางการพยาบาลได้เฉลี่ย 2.67 นาที คิดเป็น 27%  คุณภาพของการบันทึกหลังการใช้แบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ย 84.13% มีค่า t-test -0.410 (p-value = 0.772)

          สรุปผลการศึกษา : รูปแบบบันทึกการวางแผนทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดระยะเวลาในการบันทึก พยาบาลผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ ในด้านคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลยังต้องมีการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลทางการพยาบาลในระบบ HIS (Arcus air) ของโรงพยาบาล

References

อุดมพร คำล้ำเลิศ, อารี ชีวเกษมสุข, รัชนี นามจันทรา, วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล. การพัฒนารูปแบบการ

บันทึกทางการพยาบาล ในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารพยาบาล

ทหารบก. 2560; 18: 326-334.

จิตตรารัตน์ ตะตานัง. การประเมินทักษะความแม่นยำในการพิมพ์ดีดไทยเบื้องต้น กรณีศึกษา:

นักศึกษาแผนกพาณิชยกรรม ห้อง 102 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.2559. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2564]. เข้าได้ถึงจากhttp://www.payaptechno.ac.th/app/images/payap/vijai558/vijaichanrean/vijaichanrean-4.pdf.

มลิวัลย์ มูลมงคล, ศศิธร ศรีภูษณาพรรณ, ฉวี สิทธิวางค์กูล, ยุพิน ตันอนุชิตติกุลและปิยธิดา

จุลละปีย. ผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาล แบบชี้เฉพาะ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(2): 409-417.

ณิภา แสงกิตติไพบูลย์, อารี ชีวเกษมสุข, ปิยะนันต์ อิสสระวิทย์ และวิไล กุศลวิศิษฎ์กุล การพัฒนา

ระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งศูนย์มะเร็งลพบุรี. วารสาร

พยาบาล. 2556; 62(4): 10-19.

Dal Sasso GM, Barra DCC. Cognitive Workload of Computerized Nursing Process in Intensive Care Units. CIN: Computers, Informatics, Nursing. 2015; 33(8): 339–345.

Dharmarajan B, Gangadharan DK, editors. Applying Technology Acceptance (TAM) model to determine the acceptance of Nursing Information System (NIS) for Computer

Generated Nursing Care Plan among nurses. International Journal of Computer Trends

and Technology (IJCTT). 2013; 4(8): 2625-2629.

วินิตย์ หลงละเลิง. คู่มือบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพ: กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2557.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3): pp. 607-610.

NUNES ST, REGO G, NUNES R. The Experience of an Information System for Nursing

Practice. CIN: Computers, Informatics, Nursing. 2014; 32(7): 322–332.

Ostensen E, Hardiker N, Bragstad L, Helleso R. Introducing standardised care plans as

a new recording tool in municipal health care. J Clin Nurs. 2020; 29: 3286–3297.

Filipova AA. FILIPOVA. Electronic Health Records Use and Barriers and Benefits to Use in Skilled Nursing Facilities. CIN: Computers Informatics. Nursing. 2013; 31(7): 305–318.

จันทร์ทิรา เจียรณัย. การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนีนครราชสีมา. 2559; 22(2): 93-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30