ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัวต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปารณี แข็งแรง

คำสำคัญ:

การสนับสนุนจากครอบครัว, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House มาเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกจำนวน 33 ราย มาฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลมหาสารคาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยคู่มือส่งเสริมสุขภาพ บัตรคำอาหาร แผนการสอนและภาพพลิกเรื่องพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น แบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งแบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และได้นำไปทดลองใช้หาความเที่ยง ได้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.83 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยการใช้สถิติการทดสอบค่าที (Dependent t-test) ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัวมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพทุกด้านและโดยรวมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)

References

World Health Organization. Pregnant Adolescent: Delivering on Global Promises of Hope. Geneva: The Organization; 2006.

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มอนามัยแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข. 2551.

เวชระเบียนโรงพยาบาลมหาสารคามแผนกฝากครรภ์. มหาสารคาม. 2548, 2549, 2550, 2551.

Cunningham FG. William Obstetrics. 22thed. United States of America: McGraw-Hill; 2005.

Watcharaseranee N, Pinchantra P , Piyaman S. The Incidence and Complications of Teenage Pregnancy at Chonburi Hospital. J Med Assoc Thai. 2006; 89(4): 118-23.

Gilbert WM, Jandial D, Field NT, Bigalow P & Danielsen. Birth outcomes in teenage pregnancy. J Maternal-Fetal and Neonatal Medicine. 2004; 16: 265-70.

Isaranurug S, Choprapawon C, Mosuwan L. Differences in Socio-Economic Status, Service Utilization, and Pregnancy Outcomes between Teenage and Adult Mothers. J Med Assoc Thai. 2006; 89(2):145-51.

เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของการเป็นมารดาใน ระยะตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

เวชระเบียนโรงพยาบาลมหาสารคามแผนกห้องคลอด. มหาสารคาม. 2551.

Sahu MT, Agarwal A., Das V, Pandey A. Impact of maternal body mass index on obstetric outcome. J Obstetrics and Gynaecology Research .2007; 33(5): 655-9.

World Health Organization. Adolescent Pregnant: Issues in adolescent health and development. Geneva: The Organization; 2004.

รภีพร ประกอบทรัพย์. การสนับสนุนทางสังคมจากสามี การสนับสนุนทางสังคมจากมารดาและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

โสภิต สุวรรณเวลา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับ พฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2537.

Pender, N.J. Health promotion in nursing practice. 3rded. Stamford: Appleton & Lange; 1996.

House, J.S. Work stress and social support. London: Addison-Wesley; 1981.

วิไล รัตนพงษ์. ศึกษาความรู้และการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ วัยรุ่น. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการเจริญพันธ์และการวางแผนประชากร คณะวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

Montgomery KS. Nursing care for Pregnancy Adolescents. JOGNN. 2003; 32: 249-57.

จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์. สุขศึกษาในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์; 2545.

จำเนียร ศิลปะวานิช. หลักและวิธีการสอน. นนทบุรี: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์; 2538.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-11