อุบัติการณ์การเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการใช้ยาโคลซาปีนในผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ยุภัตรา ปัตถามัง

คำสำคัญ:

โคลซาปีน,, ลิวโคพีเนีย, นิวโทรพีเนีย, อะแกรนนูโลไซโตซีส, อุบัติการณ์, ความหนาแน่นของอุบัติการณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ยา Clozapine ซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 30-60 ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตกลุ่มพื้นฐาน ผลข้างเคียงที่สำคัญจากยานี้คือ ภาวะ agranulocytosis ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการใช้ยาโคลซาปีนในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอุบัติการณ์ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการใช้ยาโคลซาปีนโดยการทบทวนเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยจิตเภท ที่ได้รับยาโคลซาปีน ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ถึง 31 พฤษภาคม 2552 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสังคมประชากร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง บันทึกการตรวจเลือดดูจำนวนเม็ดเลือดขาว อุบัติการณ์และความหนาแน่นของอุบัติการณ์ในการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการใช้ยาโคลซาปีนผลการศึกษา พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 58 รายที่ศึกษาและพบมีเพียง 1 รายที่เกิดภาวะ leukopenia และ neutropenia ซึ่งอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นเท่ากับร้อยละ 1.72 และความหนาแน่นของอุบัติการณ์การเกิดภาวะclozapine-induced leukopenia/neutropenia  คือ 0.04/ปี ไม่พบภาวะ agranulocytosis ในการศึกษานี้ นอกจากนี้ความถี่ของการเจาะเลือดไม่ได้ทำอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากปัญหาการมาติดตามการรักษาของผู้ป่วยเองและการพิจารณาของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย ปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ การศึกษา การใช้ยาอื่นร่วมนอกจากยาโคลซาปีนไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับยาโคลซาปีนอยู่ในอัตราที่พบได้ แม้ไม่พบภาวะ agranulocytosis แต่จำเป็นต้องศึกษาต่อไปเพื่อให้ได้ข้อมูลมากพอที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการบันทึกข้อมูลต่างๆของผู้ได้รับยาโคลซาปีนอย่างครบถ้วนและถ้าผู้ใช้ยานี้ได้รับการตรวจเลือดตามข้อกำหนดความปลอดภัยการใช้ยา อาจจะช่วยลดอุบัติการณ์นี้ได้

References

Hippius H.A historical perspective of clozapine. J Clin Psychiatry 1999;60(Suppl 12):22-3.

Dev VJ,Krupp P.Adverse event profile and safety of clozapine. Rev Contemp Pharmacother 1995;6:197-208.

The safety and efficacy of clozapine in severe treatment-resistant schizophrenic patients in the UK.Clozapine Study Group.Br J Psychiatry 1993;163:150-4.

Kane JM.Treatment of schizophrenia. Schizophr Bull 1987;13:133-56.

Revicki DA,Luce BR,Weschler JM,Brown RE,Adler MA.Cost-effectiveness of clozapine for treatment-resistant schizophrenic patients. Hosp Community Psychiatry 1990;41:850-4.

Alphs LD,Anand R,Clozapine:the commitment to patient safety.J Clin Psychiatry 1999;60(suuppl 12):39-42.

Maskasame S,Krisanaprakornkit T,Khiewyoo J.The incidence of clozapine induced leucopenia in patients with schizophrenia at Srinagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2007;90:2175-80.

Sadock BJ, Sadock VA.Schizophrenia.In: Kaplan&Sadock’s synopsis of psychiatry. 9thed.Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins;2003:471-501.

จุฑามณี สุทธิสีสังข์.เภสัชวิทยา เล่ม 1.กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2540:149-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-11