ผลการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มต่อความสามารถ ในการปฎิบัติตนในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อน ความสามารถในการขับถ่าย ปัสสาวะ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก ทางท่อปัสสาวะ

ผู้แต่ง

  • บุญมี สันโดษ

บทคัดย่อ

                การผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ง่าย และมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว  จึงทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถ  ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดลดลง  พยาบาลจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การพยาบาล   เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย  ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับระบบการพยาบาลปกติในด้าน ความสามารถในการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง  การเกิดภาวะแทรกซ้อน ความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตทางท่อปัสสาวะที่โรงพยาบาลมหาสารคาม  จำนวน 30 คน  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ  และมีความยินดีเข้าร่วมในการวิจัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15  คน  ได้รับการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม กลุ่มควบคุม 15 คน ได้รับการพยาบาลตามระบบปกติ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม  แบบบันทึกอาการผิดปกติ/ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่แรกรับจนถึงวันกลับบ้าน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความแปรปรวน  และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดย  Independent  t- test   และ  Mann  Whitney  U – Test

              ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความสามารถในการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ  และมีความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะหลังผ่าตัดดีกว่าแต่เกิดภาวะแทรกและจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              โดยสรุป  การพยาบาลโดยการประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ  ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี  ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อน และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วย

References

กฤษณกมล วิจิตร และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัด.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2546 ; 4(3) : 22-36.

ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์. Managing Benign Prostatic Hyperplasia. วารสารหลังแพทย์ปริญญา.พฤศจิกายน, 2545.

วรพงษ์ เลิศวีระศิริกุล และคณะ. ปัญหาแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตชนิดธรรมดาโดยการส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ.วารสารยูโร. 2541 ; 19(2) : 107-113.

ปฤศณา ภูวนันท์. ต่อมลูกหมากโต : วิทยาการก้าวหน้าในการรักษาและดูแล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540 ; 15(4) : 2-7.

นุชนาฏ เทียนสว่าง, ธวัชชัย ทวีมั่นคงทรัพย์ และสุชาย สุนทราภา. การศึกษาเปรียบเทียบการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะโดยการให้ยาแบบครั้งเดียวและการให้ยาแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้อง. วารสารยูโร. 2547 ; 25(2) : 54-78.

Orem, D.E. Nursing Concepts of Practice. Louis : Mosby Year Book ; 1995.

สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : วี เจ พริ้นติ้ง ; 2540.

นิสิตา จรูญโรจน์. ผลของการพยาบาลที่ส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขภาพร่างกายและจิตสังคม. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2531.

รุ่งจิต ลีลางามวงศา. ผลการประยุกต์ระบบการพยาบาลของโอเร็ม ต่อความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวและความสามารถในการปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกขาหัก. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2540.

จุฑามาศ ค้าแพรดี. การศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต.วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : หาวิทยาลัยมหิดล ; 2545.

ทัดทรวง ปุญญทลังค์. ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองและบุตรและความพึงพอใจในการพยาบาลที่ได้รับของมารดาครรภ์แรก หลังคลอด. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2541.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อ ความรู้ การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง และความดันโลหิตของสตรีสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2543.

ทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว ความไม่สุขสบายจากโรคข้อเข่าเสื่อมและความสามารถในการปฏิบัติเพื่อการดูแลตนเอง
ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2544.

สุภาวดี โสภณวัฒนกล. ผลการพยาบาลแบบสนับสนุนการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2545.

กรรณิกา โหตกษาปน์กุล. ผลการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการทำงานของปอดต่อสมรรถภาพปอดและภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะแรก. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2542.

อรชร มาลาหอม. ผลการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อการฟื้นฟูสภาพภายหลังผ่าตัดนิ่วไตหรือท่อไต และความพึงพอใจในการพยาบาลที่ได้รับ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2534.

Jariya Lertakyamance and others. The Risks and Effectiveness of Transurethral Resectian of Prostate. Journal of the Medical Associatian of Thailand. 2002 ; 85(12) : 1288-1295.

Olaopa and others. Haematuria and Clot retention after Transurethral Resection of Prostate : A Pilot Study. British Journal of Urology. 1998 ; 82(5) : 624. Available from : URL : http:// www.Blackwell Synergy : BUJ Int September 9, 2001.

วชิร คชการ และอุบลรัตน์ รุ่งเรืองศิลป์. โรคระบบทางเดินปัสสาวะสตรี : การฝึกกล้ามเนื้อเชิงกรานเพื่อการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บียอนด์เอนเทอร์ไพรซ์ ; 2546.

ศิริพร เจริญวัฒน์. ผลของการบริหารกล้ามเนื้อฝีเย็บต่อการกลั้นปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางหน้าท้องหรือทางท่อปัสสาวะ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2526.

ดำรงพันธุ์ วัฒนโชติ และวิโรจน์ ชดช้อย. รูปแบบการฝึกหัดกล้ามเนื้อช่องเชิงกรานในโรงพยาบาลราชวิถี : Model for Pelvic floor Exercises in Rajavithi Hospital. วารสารยูโร. 2535 ; 13(13) : 39-47.

Mueller, E.J. Reduction of Length of Stay and Cost of Transurethal Resection of the Prostate by Early Catheter Removal. British Journal of Urology. 2003 ; 78(6) : 893.

สุวรรณี มหากายนันท์. ผลการประยุกต์ใช้ระบบการพยาบาลของโอเร็มต่อความผาสุก ภาวะแทรกซ้อนและจำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาลในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2538.

Ansari, M.Z. and others. Predictors of Length of Stay for Transurethral Prostatectomy in Victoria. Australian and New Zealand Journal of Surgery. 1998 December ; 68(12) : 837. Available from : URL : http:// www.Blackwell Synergy : ANZ J Surg. September 9 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-11