การประดิษฐ์แป้นใส่ถุงรองรับอุจจาระในผู้ป่วยผ่าตัดโคลอสโตมีย์
บทคัดย่อ
การทำผ่าตัดโคลอสโตมีย์(colostomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทางเดินของอุจจาระจากลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ อาจเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวรตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรค ซึ่งการผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายคือ มีช่องเปิดลำไส้ที่หน้าท้องหรือทวารเทียม(stoma) จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ในการรองรับของเสียหรืออุจจาระที่ออกมา จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ช่องเปิดลำไส้และผิวหนังรอบช่องเปิดลำไส้ได้(peristomal skin) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณผิวหนังรอบช่องเปิดลำไส้จะเกิดบ่อยมาก เนื่องจากผิวหนังสัมผัสกับอุจจาระหรือสิ่งขับหลั่งจากลำไส้ตลอดเวลา และเกิดจากการดึงถุงหรือแป้นที่มีกาวบ่อยๆ หรือแพ้ผลิตภัณฑ์ถุงรองรับอุจจาระ ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง มีผื่นคัน แดง บวม ซึ่งอาการแสดงเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการปิดถุง ผลที่ตามมาทำให้ผู้ป่วยมีความกลัว วิตกกังวล อาย เพราะเมื่อไม่สามารถปิดถุงได้ หรือปิดถุงแล้วถุงหลุดบ่อยอุจจาระจะรั่วออกมา มีกลิ่นรบกวน ประกอบกับถุงสำเร็จที่มีใช้ในโรงพยาบาลมีราคาแพง และต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายสูงในการเดินทางมารับถุงที่โรงพยาบาลทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกท้อแท้ สูญเสียภาพลักษณ์การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป มีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ผู้ศึกษาจึงได้คิดประดิษฐ์แป้นใส่ถุงรองรับอุจจาระในผู้ป่วยกลุ่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่แพ้กาวติดถุง ซึ่งเป็นวัสดุหาง่าย ราคาถูก วิธีการทำไม่ยุ่งยาก ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง ใช้ได้ผลดีไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ถุงโคลอสโตมีย์ที่สั่งซื้อในราคาแพง
References
สมจิต หนุเจริญกุล, แม้นมนา จิระจรัส และวรชัย รัตนธราธร. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก. Thai J Nurs Res, July-December : 258-281. 1997.
นุชรี ไล้พันธ์. ผลของโปรแกรมการสอนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลช่องเปิดลำไส้ของผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ออกทางหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2542.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม