การพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาสารคาม.
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์, โรงพยาบาลมหาสารคามบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาสารคาม ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กระบวนการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้โมเดลการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของ Rosswurm & Larrabee (1999) ส่วนที่ 2 ผลของการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้ใช้โมเดลของการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ ทำให้ได้แผนที่การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่เหมาะสมกับบริบทของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม
ในด้านความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติที่เห็นด้วยมากที่สุด คือ แผนการดูแลมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงเห็นด้วยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.88 แผนการดูแลสามารถใช้ได้จริงในการดูแลผู้ป่วยเห็นด้วยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71 และแผนการดูแลใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนเห็นด้วยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.65 ข้อที่ผู้ปฏิบัติมีความคิดเห็นในระดับมากคือ แผนการดูแลมีความสะดวกในการใช้ ความความพึงพอใจในการใช้แผน และแผนการดูแลมีผลทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย มีค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นเท่ากับ 4.35, 4.35 และ 3.76 ตามลำดับ
References
จตุรพร หงสประภาส และจรัส สุวรรณเวลา. (2524). บาดเจ็บที่ศีรษะ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.
จเร ผลประเสริฐ. (2528). การบาดเจ็บที่ศีรษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เยียร์บุ๊คพัลลิปเชอร์.
จาตุรงค์ เทพาหุดี, นครชัย เผื่อนปฐม. (2542). บาดเจ็บที่ศีรษะใน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ : ยุคปัจจุบัน. สงขลานครินทร์เวชสาร, (17), 109-115.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญเลิศ ตันสิทธิแพทย์. (2541). ผู้บาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 7(1), 13-19.
ปรีชา ศิริทองถาวร, สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์ และ อนันต์ ตัณมุขยกุล. (2545). ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย.
พนอ เตชะอธิก. (2544). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในหอผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉิน. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์สาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิกุล นันทชัยพันธ์. (2547). การปฏิบัติตามหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องการปรับปรุงคุณภาพด้วยการปฏิบัติตามหลักฐานอ้างอิง; 15-17 ธันวาคม 2547; เชียงใหม่.
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.
วิชาญ ฉมาดล. (2536). ความรู้พื้นฐานบาดเจ็บที่ศีรษะ. ขอนแก่น: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีระพันธ์ สุพรรณไชมาตย์ และวิทยา ชาติบัญชาชัย. (2551). การพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(3), 352-361.
วีระศักดิ์ ศรีชวนชื่นสกุล และคณะ. (2545). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงพยาบาลมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.
สงวนสิน รัตนเลิศ. (2542). การรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งพูดได้ก่อน Coma. สงขลานครินทร์เวชสาร, 17(2), 147-151.
สุดาวดี หอมจู. (2543). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
บริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรพรรณ โตสิงห์. (2547). Evidence-Based Practice. ในอุไรวรรณ แต่รุ่งเรือง (บรรณาธิการ). การดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พี.เอ.ลีฟวิ่งจำกัด.
Hickman, C., Harvey, J. (2006). An evaluation of the effect that implementation of the NICE rules may have on a diagnostic imaging department for the early management of the head injuries. Radiography, 13(4), 4-12.
Ingebrigtsen, T., Romner, B., Kock-jenson, C. (2000). Scandinavian Guidelines for Initial Management of Minimal, Mild, Moderate Head Injuries. The Journal of Trauma : Injury, Infection, and Critical care, 48(4), 760-766.
Mock, C., Lormand, J.D., Goosen, J., Joshipura, M., Peden, M. (2004). Guidelines for essential trauma care. Geeva, Woral Health Organization. Retrieved October, 1, 2007, from http://www.bamras.org/images/pdf/all_map/accident.pdf
Ratanaleart, S. (2007). The impacts and outcomes of implementing head injury guidelines : clinical experience in Thailand. Retrieved November 15, 2007, from
http://vpn.kku.ac.th.cgi/reprint/24/1/,Danainfo:emj. Bmj.com
Rosswurm, M. A., Larrabee, J. H. (1999). A Model for Change to Evidence-Based Practice. Image: Journal of Nursing Scholarship. 13(4), 317-322.
Savola, O., & Hillbom, M. (2003). Early predictors of post-concussion symptoms in patients with mild head injury. EFNS European Journal of Neurology, (10), 175-181.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม