การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อก (กรณีศึกษา)

ผู้แต่ง

  • จันทนา ประสารศิวมัย

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์นอกมดลูก, การพยาบาลตั้งครรภ์นอกมดลูก, ช็อก

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อก เป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วยเนื่องจากมีผลทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดล้มเหลวร่างกายเกิดภาวะบกพร่อง เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว,ขาดออกซิเจน,ความดันโลหิตลด,ไตวายเฉียบพลันซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วย เสียชีวิตได้ การประเมิน ภาวะช็อกได้ตั้งแต่เริ่มต้น มีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไดรับการรักษาอย่างทันท่วงที

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินของโรคในผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อก การรักษาพยาบาลและผลของการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยและ นำผล การศึกษามาใช้ประกอบ เป็นองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์นอกมดลูกและมีภาวะช็อกในรายต่อไป

วิธีการศึกษา :กรณีศึกษาโดยคัดเลือกจากผู้ป่วย แบบเจาะจง 1 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกช็อก ที่รับการรักษาที่หอผู้ป่วยนรีเวชกรรมโรงพยาบาลศรีสะเกษ  เป็นรายกรณีทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2552 – 6 มกราคม 2552

ผลการศึกษา : หญิงไทยคู่อายุ 18 ปี ขาดประจำเดือน 1 เดือน มีอาการปวดท้องน้อย เป็นลมหมดสติ มีภาวะช็อก ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกจาก โรงพยาบาลชุมชนแล้วส่งต่อ มาโรงพยาบาลศรีสะเกษ ผู้ป่วยยังมีภาวะช็อก ปรับเพิ่มสายน้ำจาก 0.9 % NSS เพิ่ม Haemaccel และต่อมาอาการดีขึ้น ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด จนอาการดีขึ้น ปัญหาสุขภาพคือ มีภาวะช็อก เนื่องจากมีการเสียเลือดภายในช่องท้อง จากการตั้งครรภ์นอกมดลูก เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากการสูญเสียปริมาณเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ขนส่ง ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, เสี่ยงต่อภาวะขาดความสมดุลของสารน้ำ และ Electrolyte ผู้ป่วยและญาติมีความกังวล เนื่องจากอาการเจ็บป่วย กลัวเสียชีวิต ผู้ป่วยมีภาวะเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัด มีภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียเลือด ไม่สุขสบายจากแน่นอึดอัดท้องซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ไขภาวะช็อก ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อกและภาวะแทรกซ้อน

สรุป : การวางแผนการพยาบาล ด้วยความรู้ความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของโรคและติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทำให้สามารถติดตามภาวะช็อกและแก้ไขทันท่วงที ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อกและภาวะแทรกซ้อน

References

Goldner TE. Lawson Hw, Xia Z, et al. Surviellance for ectopic Pregnancy United State, 1970 – 1989. MMWR (Morb Moral Wkey Rep CDC Surviellance Summary) 1993; 42:73-85.

Dorfman SF. Deaths from ectopic pregnancy, United States, 1979 to 1980. Obstet Gynecol 1983;62:334-8.

Levin AA, Schoenbaum SC, Stubblefield PG, Zimicki S, Monson RR, RyanKJ. Ectopic pregnancy and prior induced abortion. Am J Public Health 1982;72:253-6.

Westrom L, Bengtsson LP,Mardh PA. Incidence, trends and risks of ectopic pregnancy in a population of women. Br Med J 1981;282:15-8.

Sivin I. Altemative estimates of ectopic pregnancy risks during contraception. Am J Obstet Gynecol 1991;165:70.

Tatum HJ, Schmidi FH. Contraceptive and sterilization practices and extra uterine pregnancy : a realistic perspective. Fertil Steril 1977; 28:407-21.

Ory HW. The women’s health study : ectopic pregnancy and intrauterine contraceptive devices of the developing tubal ectopic pregnancy. Fertill Steril 1980;34:169-71

Coste J, Job-Spira N, Fernandez H, Papiernik E, Spira A. Risk factors for ectopic pregnancy: a case-control study in France, with special focus on infectious factors. Am J Epidemiol 1991; 133:839-49

Corson SL. Batzer FR. Ectopic pregnancy : a review of the etiologic factors. J Reprod Med 1986;31;78-85.

สถิติประจำเดือนและประจำปี ของกลุ่มงานสูติ – นรีเวชกรรมโรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2551-2552.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำทอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต, ขอนแก่น: สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

สภาการพยาบาล. แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก. กรุงเทพฯ : สภา ; 2550.

Leuies, S.M., Callier I. C and Heikemper, MM. Medical – Surgical nursing – Assessment and management of Clinical Problem. 4th ed. Missoeeri : Mosby Year Book; 1996.

สุนันทา ศรีวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมการผ่อนคลายต่อความปวด ภาวะท้องอืด และการพักฟื้นหลังการผ่าตัด ในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่ว ในถุงน้ำดี. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2538.

อิงอร พงศ์พุทธชาติ. การเสริมแรงเพื่อการฟื้นสภาพ ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล อายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์. บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

วิพร เสานารักษ์. การวินิจฉัยการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 14. ขอนแก่น : ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-12