รูปแบบการระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2551

ผู้แต่ง

  • นัยนา ไชยยงค์
  • สุภาพรรณ จันสด
  • ปุณญิสา ศรีสาร
  • สุภาวดี นวลอ่อน

คำสำคัญ:

รูปแบบการระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

           โดยปกติความปวดที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ทำให้เกิดความปวดชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ทรมาน การดูแลรักษาความปวดที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ  อีกด้านหนึ่ง หากการดูแลรักษาความปวดที่ด้อยประสิทธิภาพนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่หายปวดแล้ว  ยังทำให้ลดการตอบสนองต่อความปวดลดลงนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้

           วัตถุประสงค์  :  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาระดับ ความปวดที่ใช้ใน  Post operative pain management guideline ที่ใช้ในแผนกวิสัญญี โรงพยาบาลมหาสารคาม และ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลความปวดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

           วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน  365 ราย โดยการสุ่มผู้ป่วยอายุ 10 ถึง 65 ปี   และอายุมากกว่า 65 ปี ในระหว่างวันที่  1  กรกฎาคม 2551 -  31 ธันวาคม  2551  ที่ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินความปวด ก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย  หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการดูแลตามรูปแบบการให้ยาระงับปวดที่ห้องพักฟื้น

             ผลการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยจำนวน  242 รายในกลุ่มอายุ  10 ปีถึง 65 ที่มีน้ำหนัก ³  50  กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยการได้รับยาระงับปวดเท่ากับ   0.81   มิลลิกรัม/ กิโลกรัม / ชั่วโมง   เมื่อเปรียบเทียบความแรงเป็น Morphine และ มีค่า  pain score เฉลี่ย เท่ากับ 5.10   ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนัก  <   50  กิโลกรัมจำนวน   91 ราย มีค่าเฉลี่ยของการได้รับยาระงับปวดเท่ากับ  0.99   มิลลิกรัม/ กิโลกรัม / ชั่วโมง  และมีค่า pain score   เฉลี่ยเท่ากับ  4.8   นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี น้ำหนัก ³ 50   กิโลกรัม จำนวน 16 ราย พบว่ามีค่าเฉลี่ยของการได้รับยาระงับปวดเท่ากับ  0.89 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม / ชั่วโมง   และค่า pain score เฉลี่ยเท่ากับ   5.31  ส่วนผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก < 50 กิโลกรัมจำนวน   7 ราย พบว่าได้รับยาระงับปวดเฉลี่ย  0.07 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม / ชั่วโมง  และ มีค่า pain score  เฉลี่ยเป็น 6.16

               สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าปริมาณยาระงับปวดที่ใช้ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ตามรูปแบบการที่กำหนดขึ้นนี้พบว่ายังไม่เพียงพอ คือ มีค่า pain score มากกว่า 4 ในการดูแลผู้ป่วยภายใน 1 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ควรมีการพัฒนารูปแบบการให้ยาแก้ปวดขึ้นในอนาคต

References

สมบูรณ์ เทียนทอง. การระงับปวดหลังผ่าตัด., ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,2544

สมบูรณ์ เทียนทอง. การระงับปวดหลังผ่าตัด ( Acute Pain Management )ขอนแก่น; โรงพิมพ์มหาวิยาลัยขอนแก่น. 2548

สถาพร ลีลานันทกิจ. การบำบัดความปวดจากโรคมะเร็ง . กรุงเทพ ฯ.โรงพิมพ์แอสมีโก้ . 2550

วราภรณ์ เชื้ออินทร์ และสิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์. วิสัญญีวิทยาคลินิก. ขอนแก่น; คลัง นานาวิทยา, 2544

Kehleth. Principle of postoperative pain relief : Postoperative pain , Guideliness of management . Basel :Reinhardt Druch 1995:25-7.

Wang Ju, Nauoss LA , Thomas JE . Pain relief by intrathecally applied morphine in man, Anesthesiology 1997 ; 50:149-51.

เทวารักษ์ วีระพัฒกานนท์. การทำวิจัยทางวิสัญญี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550.

วิชัย อิทธิชัยกุลกล และคณะ. ตำราฟื้นฟูวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพ ฯ; ทองพูนการพิมพ์ , 2546

วิชัย อิทธิชัยกุลกล และคณะ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพ ฯ; ส. เอเชียเพรส, 2548

วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์ และคณะ. วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน. . กรุงเทพ ฯ; เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น, 2543

Ready LB. Acute Postoperative Pain. In : Miller RD, ed. Anaesthesia, 4th ed N Livingstone 1994 ; 2327-2344

Durbin CG Jr. Problems with analgesia in the postanesthesia care unit. Problems in Aneathesia 2000; 12:254-64.

Chapman CR. Assessment Of pain. In: Nimmo WS,ed. Anaesthesia. London : The Eden Press, 1994 :1536-56

อังกาบ ประการรัตน์และคณะ. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร,2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15