ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดข้อต่อขากรรไกรกับการเคี้ยวข้างเดียว

ผู้แต่ง

  • สิทธา จิรกุลสมโชค

คำสำคัญ:

อาการปวดข้อต่อขากรรไกร, การเคี้ยวข้างเดียว

บทคัดย่อ

          จากประสบการณ์ของผู้ทำการศึกษาในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดข้อต่อขากรรไกรมักพบว่าผู้ป่วยมีนิสัยการเคี้ยวอาหารข้างเดียว(หมายถึงการเคี้ยวด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกข้างอย่างชัดเจน)มาก่อนที่จะมีอาการปวดเป็นส่วนใหญ่    ซึ่งพบได้ทั้งเคี้ยวด้านเดียวกับข้อต่อขา กรรไกรที่ปวด (unilateral chewing)  และด้านตรงกันข้ามกับข้อต่อขากรรไกรที่ปวด(contralateral chewing)     โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเคี้ยวด้านเดียวกับข้อต่อขากรรไกรที่ปวด   ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้ข้อต่อขากรรไกรข้างนั้นทำงานหนักกว่าปกติทำให้เกิดความเสื่อมหรือบาดเจ็บของข้อต่อและเนื้อ เยื่อเกี่ยวพันรอบข้อจนทำให้มีอาการปวด แต่พบว่าในผู้ป่วยเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยที่เคี้ยวข้างเดียวด้านตรง กันข้ามกับข้อต่อขากรรไกรข้างที่ปวดซึ่งแย้งกับเหตุผลข้างต้น

          การศึกษานี้ต้องการหาคำตอบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรนั้นมีนิสัยการเคี้ยวอาหารข้างเดียวมาก่อนที่จะมีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรมาก-น้อยแค่ไหน  และมีสัดส่วนการเคี้ยวข้างเดียวด้านตรงกันข้ามกับข้อต่อขากรรไกรที่ปวด(contralateral chewing)มากน้อยเพียงใดเทียบกับการเคี้ยวข้างเดียวด้านเดียวกับข้อต่อขากรรไกรที่ปวด(unilateral chewing)  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการวินิจฉัยและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกร

            ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยเพศชาย 39 คน  เพศหญิง 111 คน   ปวดข้อต่อขากรรไกรข้างขวา 67 ราย   ปวดข้อต่อขากรรไกรข้างซ้าย 81 ราย   ปวดข้อต่อขากรรไกรทั้งสองข้าง 3ราย

            เมื่อนำเอาเฉพาะผู้ป่วยที่ปวดข้อต่อขากรรไกรข้างเดียว 148 รายมาวิเคราะห์จะพบว่า มีการเคี้ยวด้านเดียวถึง130 ราย (88%)  โดยเคี้ยวข้างเดียวกับข้อต่อที่ปวด  85 ราย(58%)   เคี้ยวข้างตรงกันข้ามกับข้อต่อขากรรไกรที่ปวด  45 ราย(30%)   เคี้ยวเท่ากันทั้งสองข้าง 18 ราย(12%) 

             สรุป: การเคี้ยวด้านเดียวน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อต่อขากรรไกรโดยมักจะเคี้ยวด้านเดียวกับข้อต่อที่ปวดแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่จะพบว่าเคี้ยวด้านตรงข้ามกับข้อต่อขากรรไกรข้างที่ปวด

References

Dworkin SF, Huggins KH, LeResche L, Von Korff M, Howard J, Truelove E, et al. Epidemiology of signs andsymptoms in temporomandibular disorders: clinical
signs in cases and controls. J Am Dent Assoc 1990;120:273-81.

Rutkiewicz Occurrence of clinical signs of temporomandibular disorders in adult Finns. J Orofac Pain 2006;20:208-17

Etsuko Motegi, Haruyo Miyazaki, Isao Ogura, Harumi Konishi, Masayuki Sebata (1992) An orthodontic study of temporomandibular joint disorders Part 1: Epidemiological research in Japanese 6–18 year olds. The Angle Orthodontist: Vol. 62, No. 4 (1992) , pp. 249-256.

McNamara JA Jr, Seligman DA, Okeson JP. Occlusion,orthodontic treatment, and temporomandibular disorders:a review. J Orofac Pain 1995;9:73-90.

Okeson JP, for the American Academy of OrofacialPain. Orofacial Pain: Guidelines for Assessment, Diagnosis, and Management. Chicago, Ill.: Quintessence Pub, 1996

A.Korszun, E.Papadopoulos, M.Demitrack, C.Engleberg, L.Crofford The relationship between temporomandibular disorders and stress-associated syndromes . Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology, Oral Radiology, and Endodontology, 1998 ;Volume 86, Issue 4, Pages 416-420

Juan Fernando Casanova-Rosado, Carlo Eduardo Medina-Solís, Ana Alicia Vallejos-Sánchez, Alejandro José Casanova-Rosado, Bernardo Hernández-Prado and Leticia Ávila-Burgos : Prevalence and associated factors for temporomandibular disorders in a group of Mexican adolescents and youth adults Clinical Oral Investigations 2006;10:42-49

M. Naeije* and N. Hofman , Biomechanics of the Human Temporomandibular Joint during Chewing J Dent Res 2003 ;82(7):528-531, 2003

Faulkner MG, Hatcher DC, Hay A (1987). A three-dimensional investigation of temporomandibular joint loading. J Biomech 20:997-1002.

Korioth TWP (1997). Simulated physics of the human mandible. In: Science and practice of occlusion. McNeill C, editor. Chicago. Quintessence Publishing Co., pp. 179-186

Kuboki T, Azuma Y, Orsini MG, Takenami Y, Yamashita A (1996).Effects of sustained unilateral molar clenching on the temporomandibular joint space. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 82:616-624.

Palla S, Gallo LM, Gössi D. Dynamic stereometry of the temporomandibular joint. Orthod Craniofac Res. 2003;6 Suppl 1:37-47.

Gallo LM. Modeling of temporomandibular joint function using MRI and jaw-tracking technologies--mechanics. Cells Tissues Organs. 2005;180(1):54-68.

Langenbach GE, Hannam AG (1999). The role of passive muscle tensions in a three-dimensional dynamic model of the human jaw. Arch Oral Biol 44:557-573.

Yatabe M, Zwijnenburg A, Megens CC, Naeije M (1997). Movements of the mandibular condyle kinematic center during jaw opening and closing. J Dent Res 76:714-719.

Naeije M (2003). Measurement of condylar motion; a plea for the use of the condylar kinematic center. J Oral Rehabil 30:225-230

Cox KW .Temporomandibular disorder and new aural symptoms. Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 2008; 134(4):389-93

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19