ผลการใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง ต่อสมรรถนะการใช้ กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, สมรรถนะ, พยาบาลพี่เลี้ยงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เพื่อศึกษาผลการนำระบบพยาบาลพี่เลี้ยง มาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ สุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบประเมินสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น แบ่งระดับสมรรถนะออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กำหนดระดับสมรรถนะที่คาดหลังตามกลุ่มพยาบาลวิชาชีพระดับเริ่มต้นใหม่ ระดับเริ่มก้าวหน้า ระดับมีความ สามารถ ระดับชำนาญและ ระดับผู้เชี่ยวชาญ ตามลำดับ แปลความหมายระดับสมรรถนะเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีระดับสมรรถนะตามที่คาดหวัง ต่ำกว่าระดับที่คาดหวัง และสูงกว่าระดับที่คาดหวัง โดย ศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม- ธันวาคม 2552 เป็นเวลา 4 เดือน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสร้างพยาบาลพี่เลี้ยง การใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติการใช้กระบวนการพยาบาลและการประเมินสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติโดยพยาบาลพี่เลี้ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test, Paired-t test และ Chi square test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลภายหลังการฝึกปฏิบัติโดยพยาบาลพี่เลี้ยง ค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ขั้นตอน (p< 0.001) พยาบาลพี่เลี้ยงประเมินระดับสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลค่าเฉลี่ยต่ำกว่าการประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ขั้นตอน (p<0.001) นอกจากนี้ภายหลังการฝึกปฏิบัติโดยพยาบาลพี่เลี้ยงพยาบาลวิชาชีพมีระดับสมรรถนะต่ำกว่าระดับคาดหวังมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 92 เหลือ ร้อยละ 89 และระดับสมรรถนะตรงตามที่คาดหวังร้อยละ 6 และสูงกว่าระดับคาดหวัง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ทั้ง 5 ขั้นตอน โดยสรุปการใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง สามารถพัฒนาระดับสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะการวินิจฉัยการพยาบาลต่ำที่สุด และพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะการใช้กระบวน การพยาบาลต่ำกว่าระดับคาดหวังทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนั้นควรนำระบบพยาบาลพี่เลี้ยงมาใช้ในการพัฒนาทักษะการใช้กระบวนการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการวินิจฉัยการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
References
ยุพิน อังสุโรจน์. การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2541; 10(1-3): 44-48.
Yura, H. & Walsh, M.B. The nursing process. California : A Division of the Benjamin/ Comings., 1988.
McClelland, D.C. “Testing for Competence rather than for Intelligence,” American Psychologist. 1973; 28: 1 – 14.
กัลยา ศรกล้า. ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงบทบาทพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
ยุพาพิน ศิรโพธ์งาม, สร้อยสุมน โสพรรณการ, ยุพันธ์ จันทร, รุ่งราวรรณ บำรุงถิ่น, สุภัทรา วิเศษคามิน. ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง: ประสบการณ์ของพยาบาลระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ. รามาธิบดีพยาบาลสาร.2540; 1: 61-7.
อารีย์ ป้อมประสิทธิ์.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับการใช้กระบวนการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
สุธิดา ประทุมราช. ประสบการณ์การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2548.
Robinson, S. M. & Barberis-Ryan, C. Competency assessment: A systematic approach. NursingManagement. 1995; 26(2): 40 – 42.
นุสรา สุขศิริ. ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
จิราพร พรหมพิทักษ์กุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสังกัดทบวง มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541.
Barton DS, Gowdy M, Hawthore BW. Mentorship programs for novice nurses. Nurse Leader. 2005; 8: 41-4.
Almada P, Carafoli, K., Flattery, J., French, F., McNamara, M. Improving the retention rate of newly graduated nurses. J Nurses Staff Develop. 2004; 20(6): 268–73.
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษารูปแบบหน่วยงานสาธิตทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล : งานผู้ป่วยใน, นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2547.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม