ปัญหาเท้าที่พบบ่อยในคลินิกเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ศศิณัฏฐ์ ศรีโรจน์

คำสำคัญ:

ปัญหาเท้า, เท้าผิดรูป, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาปัญหาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่พบบ่อยในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบปัญหาเท้าที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และเพื่อหาแนวทางรักษาและป้องกันการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวานและการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยมีกลุ่มประชากรที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 210 คน

          ผลการศึกษา : พบเพศหญิงทั้งหมด 147 คน และเพศชายทั้งหมด 63 คน อายุเฉลี่ย 62 ปี  ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย9.3 ปี มีผู้เคยถูกตัดนิ้วเท้าจำนวน 11 คน (ร้อยละ 5.2)  รองเท้าที่ใช้นอกบ้านส่วนใหญ่คือรองเท้าแตะ 165 คน( ร้อยละ 78.6 ) มีผู้ป่วยจำนวน 84 คน(ร้อยละ 40) ที่สูญเสีย protective sensation  ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีเท้าที่ผิดปกติเป็นลักษณะ claw toeจำนวน 29 คน (ร้อยละ13.8) และ hallux valgus จำนวน 16 คน (ร้อยละ7.6) ตำแหน่ง callus ที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณนิ้วโป้ง (great toe) จำนวน 16 คน (ร้อยละ7.6) รองลงมาคือบริเวณปุ่มกระดูก metatarsal ที่ 1 จำนวน 15 คน (ร้อยละ7.1) และบริเวณตาตุ่ม (malleolus) จำนวน 11 คน (ร้อยละ5.2) และตำแหน่งที่เกิดแผลบ่อยที่สุดคือบริเวณปุ่มกระดูก metatarsal ที่ 1 จำนวน 15 คน (ร้อยละ7.1) รองลงมาคือบริเวณนิ้วโป้ง (great toe) จำนวน 13 คน (ร้อยละ6.2) ระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานตาม UTDFC พบผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าระดับ 0 (ยังไม่มีพยาธิสภาพที่เท้า) จำนวน 98 คน(ร้อยละ46.7)  ระดับ 1 (เสีย protective sensation) จำนวน 63 คน (ร้อยละ30.0) ระดับ 2 (เสีย protective sensation และเท้าผิดรูป) จำนวน 26 คน (ร้อยละ12.4) ระดับ 3 (เสีย protective sensation และเคยหรือมีแผลที่เท้า) จำนวน 16 คน (ร้อยละ7.6) และ ระดับ 6 (มีความผิดปกติของเส้นเลือดที่เท้า) จำนวน 7 คน (ร้อยละ3.3)

          สรุป : มากกว่าร้อยละ 50 ในผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาปลายประสาทเสื่อมและลักษณะเท้าผิดปกติ ส่วนความผิดปกติของเส้นเลือดพบเล็กน้อย  มีผู้ป่วยร้อยละ 5.2 ที่ยังเดินโดยไม่ใส่รองเท้านอกบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นควรดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆการดูแลเท้าก็เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งประกอบไปด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม การประเมินภาวะความเสี่ยงในการเกิดแผล และการดูแลรักษาตามโปรแกรมเป็นระยะ เพื่อป้องกันการถูกตัดขาได้

References

Thai Multicenter Research Group on Diabetes Mellitus.Vascular complication in non-insulin dependent diabetics in Thailand.Diabetics Res Clin Pract 1994; 25: 61-9

Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults:The international collaborative study of cardiovascular disease in Asia.Diabetes Care 2003; 26: 2758-63.

Fryberg RG. Team approach toward lower extremity amputation prevention in diabetes. J Amer Ped Assoc1997; 87: 305-12.

Moss SE, Klein R, Klein BED. The prevalence and incidence of lower extremities amputation in diabetic population. Arch Intern Med 1992; 152: 610-6.

Pecoraro RE, Reiber GE, Burgess EM, Pathways to diabetic limb amputation: basic for prevention. Diabetes Care 1990; 13: 513-52.

Center for Disease Control and Prevention. History of foot ulcer among persons with diabetes: United States 2000-2002. MMWR Morb Mortal Wkly 2003; Rep 52: 1098-102.

Reiber GE, Boyko EJ, Smith DG. Lower extremity foot ulcers and amputations in diabetes. In: Diabetes in
America.2nd ed. Bethesda: National Institutes of Health, 1995: 409-28.

Vichayanrat A, Lueseangdang L, Pitmana-aree S. Diabetic foot ulcer. Siriraj Hosp Gaz 1979; 31: 883-97.

Sriussadaporn A, Nitiyanant W, Komoltri C, Ploybutr S, et al. Factors associated with diabetic foot ulceration in Thailand: a case-control study. Diabet Med 1997; 14: 50-6

Center for Disease Control and Prevention: Diabetes Surveillance 1993. Atlanta, GA: US. Department of Health and Human Services, 1993.

Thirapatarapong W, Srisawasdi G, Epidemiology and direct cost diabetes-related lower extremity amputation at Siriraj hospital. J Thai Rehabili Med 2008; 18(2): 65-9.

Mayfield JA, Reiber GE, Sanders LJ, Janisse D, Pogach LM. Preventive foot care in people with diabetes. Diabetes Care 1998; 21: 2161-77.

Boulton AJ, Meneses P, Ennis WJ. Diabetic foot ulcer: a frame work of prevention and care. Wound Rep Regen 1997; 7: 7-16.

Consensus Development Conference on Diabetic Foot Wound Care: 7-8 April 1999, Boston, Massachusetts. American Diabetes Association. Diabetes Care 1999; 22: 1354-60.

Grunfeld C. Diabetic foot ulcers: etiology, treatment, and prevention. Adv Intern Med 1992; 37: 103-32.

Patout CA Jr, Birke JA, Horswell R, Williams D, Cerise FP. Effectiveness of a comprehensive diabetes lower- extremity amputation prevention program in a predominantly low-income African-American population. Diabetes Care 2000; 23: 1339-42

Armstrong DG, Lavery LA, Harkless LB. Treatment based classification system for assessment and care of diabetic feet. J Am Podiatr Med Assoc 1996; 86: 311-6.

Edgar J.G. Peters, Lawrence A. Lavery, Effectiveness of the diabetic foot risk classification system of the international working group on the diabetic foot. Diabetic care 2001; 24: 1442-7.

Malgrange D, Richard JL, Leymarie F. Screening diabetic patients at risk for foot ulceration. A multi-centre hospital-based study in France. Diabetes Metab 2003; 29(3): 261-8.

Ledoux WR, Shofer JB, Smith DG, et al. Relationship between foot type, foot deformity, and ulcer occurrence in the high-risk diabetic foot. J Rehabil Res Dev 2005; 42(5): 665-72.

Alavi A, Sanjari M, Haghdoost A, Sibbald RG. Common foot examination features of 247 Iranian patients with diabetes. Int Wound J 2009; 6(2):117-22.

Bus SA, Valk GD, van Deursen RW, et al. The effectiveness of footwear and offloading interventions to prevent and heal foot ulcers and reduce plantar pressure in diabetes: a systematic review. Diabetes Metab Res Rep 2008; 24 Suppl 1: S162-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-21