ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจของครอบครัวและชุมชนต่อการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรัง ในชุมชนเขตเทศบาลตำบลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุภาพร สุโพธิ์
  • อิศรา อนุฤทธิ์
  • อรทัย แฝงจันดา

คำสำคัญ:

เสริมสร้างพลังอำนาจ, โรคจิตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความรู้การดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้ากลุ่มเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลตำบลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มและแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 40 คน คือ กลุ่มผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 13 คน กลุ่มผู้ดูแล 15 คน และกลุ่มผู้นำ / อสม. 12 คน  โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย  8 กิจกรรม ระยะเวลา สัปดาห์ละ 2 วันๆละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และติดตามประเมินผล 2 ครั้ง หลังจากดำเนินการ 2 เดือน

          เครื่องมือที่ใช้  ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และ การประเมินความพึงพอใจ โดยดัดแปลงจาก ประภัสพร พันธ์จูมดำเนินการเก็บข้อมูลการศึกษา ระหว่างเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ  และการเปรียบเทียบข้อมูลความรู้  คุณภาพชีวิต ก่อนและหลังโดยใช้สถิติ  Wilcoxon signed-ranks test

          ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้เปรียบเทียบก่อนและหลังการดูแลตนเองของกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้ดูแลและผู้นำชุมชนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง   มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)  ส่วน คุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม ก่อนและหลังมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง (82.48%)  และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ย มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)  

          การศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ทำให้เกิดรับรู้การเปลี่ยนแปลง การดูแลสุขภาพตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือเกื้อกูล ในผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน  ให้เข้าถึงระบบบริการที่รวดเร็ว เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน

References

กฤตยา แสวงเจริญ. การสัมภาษณ์เพื่อการช่วยเหลือทางการพยาบาล. ภาควิชาการพยาบาล จิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2539

กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล. แนวคิดจากการประชุมสตรีโลกที่ปักกิ่ง กลยุทะในการพัฒนาสุขภาพสตรี : การเสริมพลังอำนาจ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 2539.14(1), 9-18.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิต การพิมพ์. 2544.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. การสร้างพลังอำนาจ : กลยุทะในการควบคุมอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 3(2) 2540; 193-201.

ดารณี จามจุรี. พลังอำนาจกับการจัดการความเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารกองการพยาบาล,2545; 29(2), 55-63.

________. รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์,2540.

นิตย์ ทัศนิยม. การส่งเสริมสุขภาพ : มิติการสร้างพลังอำนาจ. วารสารคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 25(2,3), 103-114.

นิตย์ ทัศนิยม. [ม.ป.ป.]. การส่งเสริมสุขภาพ : มิติการสร้างพลังอำนาจ. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการวิชาการสัญจร ของสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขตขอนแก่น. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสำเนา).

นิตยา เพ็ญศิรินภา. เทคนิคการสร้างพลังส่งเสริมสุขภาพ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม,2544; 24(2), 42-54.

บุปผาชาติ ขุนอินทร์. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบให้คำปรึกษาและประคับประคองสำหรับพยาบาลประจำการต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

พิไลรัตน์ ทองอุไร. ภาวะจิตสังคมในผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์,2542; 19(2), 38-47.

รวมพร คงกำเนิด. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านสุขภาพ. การส่งเสริมสุขภาพ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติการพยาบาล,2543; (หน้า 119-127). นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

วรรณชนก จันทชุม. สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์, 2545.

สรินทร เชี่ยวโสธร. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา. วารสารพยาบาลทหารบก,2546; 4(1), 94-100.

สายฝน เอกวรางกูร. การเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนปรุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2542.

สุคนธ์ ไข่แก้ว. การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์,2545; 20(2), 71-76.

อวยพร ตัณมุขยกุล. พลังอำนาจกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในวิชาชีพการพยาบาล. พยาบาลสาร, 2540; 24(1),1-9.

อุรา สุวรรณรักษ์. การเพิ่มพลังอำนาจต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,2542.

Gibson, C.H. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 1991; 16(3), 354-361.

________. The process of empowerment in mothers of chronically ill children.. Journal of Advanced Nursing, 1995; 21(6), 1201-1210.

Gilbert, T. Nursing : Empowerment and the problem of power. Journal of Advanced Nursing, 1995; 21(5), 865-871.

Hawks, J.H. Empowerment in nursing education : Concept analysis and application to philosophy, learning and instruction. Journal of Advanced Nursing, 1992; 17(5), 608-618.

________. Organizational culture and faculty use of empowering teaching behaviors in selected schools of nursing. Nursing Outlook, 1999; 47(2), 67-73.

Jones, P.S., & Meleis, A.I. Health is empowerment. Advances in Nursing Science, 1993; 15(3), 1-14.

Kuokkanen, L., & Leino-Kilpi, H. Power and empowerment in nursing : Three theoretical approaches. Journal of Advanced Nursing, 2000; 31(1), 235-241.

Mackintosh, N. Self-empowerment in health promotion : A realistic target? British Journal of Nursing, 1995; 4(21), 1273-1278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-21