ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและการปรับตัวของมารดาหลังคลอดครั้งแรก และมารดาหลังคลอดครั้งหลัง

ผู้แต่ง

  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า
  • อัญชลี อ้วนแก้ว
  • กิ่งแก้ว สิทธิ
  • ธรรมวรรณ์ บูรณสรรค์

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, การปรับตัวหลังคลอด, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและการปรับตัวของมารดาหลังคลอดครั้งแรกและมารดาหลังคลอดครั้งหลัง   

รูปแบบและวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาในมารดาหลังคลอด 48-72 ชั่วโมง จำนวน 129 คน เป็นมารดาหลังคลอดครั้งแรก 58 คน มารดาหลังคลอดครั้งหลัง 71 คน ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2564 โดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postpartum Depression Scale และแบบประเมินการปรับตัวต่อการเป็นมารดาหลังคลอด แบบสอบสอบถามทั้ง 2 ชุดเป็นมาตรวัด 4 ระดับ โดยให้มารดาหลังคลอดตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสถิติด้วยไค-สแควร์

ผลการศึกษา: มารดาหลังคลอดครั้งแรกมีความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร้อยละ 3.4 ส่วนมารดาครรภ์หลังคลอดครั้งหลังพบร้อยละ 12.7 แต่พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนระดับการปรับตัวต่อการเป็นมารดาในภาพรวมทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่ปรับตัวได้ในระดับปานกลาง ส่วนการปรับตัวด้านการรับรู้การเป็นมารดาว่าเป็นภาวะวิกฤต พบว่าทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่ปรับตัวในระดับสูง การปรับตัวด้านความรู้สึกต่อการพัฒนาตนเอง และการปรับตัวด้านความสามารถและความเข้าใจบทบาท ส่วนใหญ่ปรับตัวได้ในระดับปานกลาง การปรับตัวทั้ง 2 กลุ่มในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

สรุปผลการศึกษา: ความชุกภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดาหลังคลอดครั้งหลังมากกว่ามารดาหลังคลอดครั้งแรกถึง 3 เท่า ดังนั้น การดูแลมารดาหลังคลอดครั้งหลังจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจของมารดาหลังคลอดครั้งหลังมากขึ้น

References

Marshall JE, Raynor MD. Myles textbook of midwives. 17thed. Poland: Elsevier; 2020.

Giallo R, Saymour M, Dunning M, Cooklin A, Loutzenhise L, McAuslom P. Factors associated with the course of maternal fatigue across the early postpartum period. J Reprod Infant Psychol 2015; 335: 528-44.

Gulamani SS, Premji SS, Kanji Z, Azam ZI. A Review of postpartum depression, preterm birth, and culture. J Perinat Neonatal Nurs 2013; 27(1): 52–9.

Tahirkheli NN, Cherry AS, Tackett AP, McCaffree MA, Gillaspy SR. Postpartum depression on the neonatal intensive care unit: current perspectives. Int J Womens Health 2014; 24(6): 975-87.

พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, นุชนาต สุนทรลิ้มศิริ, กนกพร จันทราทิตย์, จิราวรรณ ดีเหลือ, จิราภรณ์ นันท์ชัย, พฤกษลดา เขียวคา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดาและบิดาที่มีบุตรคนแรก. พยาบาลสาร 2558; 42(3): 37-50.

Bergström EB, Wallin L, Thomson G, Flacking R. Postpartum depression in mothers of infants cared for in a neonatal intensive care unit–incidence and associated factors. J Neonatal Nurs 2012; 18(4): 143-51.

Figueiredo B, Canário C, Field T. Breast feeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014; 44(05): 927-36.

Freeley N, Bell L, Hayton B, Zelkowitz P, Carrier ME. Care for postpartum depression: what do women and their partners prefer? Perspect Psychiatr Care 2016; 52(2): 120-30.

นลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์ กันธะรักษา, บังอร ศุภวิทิตพัฒนา. ความเครียด การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก. พยาบาลสาร 2563; 47(2): 169-79.

อักษราณัฐ ภักดีสมัย, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, ปิยะนุช ชูโต. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้ที่เป็นมารดาครั้งแรก. พยาบาลสาร 2560; 44(3): 19-29.

วันชัย กิตติโชติวัฒน์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2561; 43(5): 125-30.

กิตติศักดิ์ ด้วงเอียด. ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นที่โรงพยาบาลควนขนุน. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(3): 457-64.

Cox JL, Holden JM, Sagovsky R. Detection of postnatal depression: development of the 10-item Edinburgh Postnatal Depression Scale. Br J Psychiatry 1987; 150: 782.

American College of Obstetrics and Gynecologists [ACOG]. Committee on gynecology opinion No. 630: screening for perinatal depression. Obstet Gynecol 2015; 125: 1268-71.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Sheehan F. Assessing postpartum adjustment: a pilot study. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1981; 10(1): 19-23.

Cochran WC. Sampling techniques. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons; 1973.

กมลรัตน์ วัชราภรณ์, จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, นิศานต์ สำอางศรี. การประเมินแบบสอบถาม The Edinburgh Postnatal Depression Scale ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2546; 11(3):, 164-69.

Pitanupong J, Liabsuetrakul T, Vittayanont A. Validation of the Thai Edinburgh Postnatal Depression Scale for screening postpartum depression. Psychiatry Res 2007; 149: 253-59.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตร์ อนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.

Bloom BS, Hasting JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

กุสุมา แสนบุญมา, ธัญญมล สุริยนิมิตสุข, กิตติพร ประชาศรัยสรเดช, นวพร มามาก. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในมารดาครรภ์แรก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564; 31(2): 128-39.

Blackman JS. Review of diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5thed. clinical handbook of psychological disorders: a step by step treatment manual, 5th edition, and essentials of psychiatric diagnosis: responding to the clallenges of DSM-V. Psychoanalysis psychology 2016; 33(4): 651-63.

Panyayong, B. Postpartum depression among Thai women: a national survey. J Med Assoc Thai 2013; 96(7): 761-67.

เอกลักษณ์ สรวมศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(2): 148-58.

Lowdermilk D, Perry S, Cashion K. Maternal and women’s health care. 10thed. USA: Elsevier; 2012.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29