การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา หาญสมบูรณ์ -

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การฝากครรภ์, ภาวะสุขภาพ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการดำเนินการ เปรียบเทียบการฝากครรภ์ครบและไม่ครบตามเกณฑ์ กับภาวะสุขภาพของมารดา ทารก และน้ำหนักทารกแรกคลอด ตลอดจนสาเหตุของการฝากครรภ์ล่าช้าและไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

         รูปแบบและวิธีวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) บุคลากรซึ่งให้บริการฝากครรภ์ จำนวน 14 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 2) หญิงตั้งครรภ์ชาวไทยที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหลังสวน รพ.สต. และคลินิกแพทย์ทุกแห่งในอำเภอหลังสวน และมาคลอดที่โรงพยาบาลหลังสวน จำนวน 208 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการตั้งครรภ์และภาวะสุขภาพ เก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test / Fisher’s Exact Test / Independent t-test

ผลการศึกษา : หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 72.1 ฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และร้อยละ 68.8 ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ มารดาหลังคลอดและบุตรมีภาวะสุขภาพดี ร้อยละ 94.7 และ 68.4  พบทารกที่คลอดโดยหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์มีสุขภาพผิดปกติมากกว่ากลุ่มที่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.036) แต่สุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และน้ำหนักทารกแรกคลอดไม่มีความแตกต่างกัน (P-value > 0.05) สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คือ ไม่ทราบว่าควรมาฝากครรภ์กี่ครั้ง และไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ และสาเหตุที่มาฝากครรภ์ล่าช้าคือ ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ และไม่ทราบว่าควรมาฝากครรภ์เมื่อไร

สรุปผลการศึกษา : การฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ของอำเภอหลังสวน ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข จึงควรดำเนินการพัฒนาระบบการฝากครรภ์ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป

References

นงลักษณ์ รุ่งทรัพย์สิน. โครงการการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ ตามข้อแนะนำองค์การ อนามัยโลก. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 2558; 4(2): 7-16.

Qazi G. Obstetric characteristic and complications of teenage pregnancy. Journal of Postgraduate Medical Institute. 2011; 25(2): 134-8.

. สำนักสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข. การฝากครรภ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://pr.moph.go.th/iprg/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการใน คลินิกฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ใน พระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

Canning PM, Frizzell LM, Courage ML. Birth outcomes associated with prenatal participation in a government support program for mothers with low incomes. Child Care Health. 2010; 36(2): 225-31.

ชุติมา ไตรนภากุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาล ราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2560; 36(2): 79-87.

ประคอง ตั้งสกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2554; 6(2): 113-22.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. WHO ปลุกกระแสรณรงค์สุขภาพแม่และเด็ก วันอนามัย โลก 2558. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://advisor.anamai.moph.go.th/

Yamane T. Statistics : An Introductory Analysis. London : John Weather Hill,Inc. 1967.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลตัวชี้วัดสำคัญ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://healthdata.moph.go.th/kpi/2555/KpiDetail.php?topic _id=3

อนุสรา ก๋งอุบล. การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารก อำเภอเวียง สระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2560; 31(1):10-119.

ปฐม นวลคำ. การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารก ในสถานบริการ สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานวิจัย: แม่ฮ่องสอน. 2559

Xaverius P, Alman C, Holtz L, Yarber L. Risk factors associated with very low birth weight in a large urban area, stratified by adequacy of prenatal care. Maternal and child health journal. 2016; 20(3): 623-9.

อรทัย วงศ์พิกุล, สินีนารถ โรจนานุกูลพงศ์, อำพวรรณ คำรณฤทธิ์. ฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ ควรฝากก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2558.

Das S, Dhulkotia JS, Brook J, Amu O. The impact of a dedicated antenatal clinic on the obstetric and neonatal outcomes in adolescent pregnant women. Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2007; 27(5): 464-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30