ผลการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์ -

คำสำคัญ:

การประเมินแบบเสริมพลัง อัตลักษณ์บัณฑิต นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนา  อัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาล

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง  ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) อาจารย์พยาบาล ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 55 คน และ 2) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 115 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต 2) แบบประเมิน
อัตลักษณ์บัณฑิต 3) แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้รูปแบบดังกล่าว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการศึกษา : พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีระดับคะแนนคุณลักษณะอัตลักษณ์บัณฑิตทั้งภาพรวมและรายด้าน (ด้านจิตบริการ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ) สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาลจากการประยุกต์ใช้รูปแบบในระดับมาก 

สรุปผลการศึกษา :  รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาล มีผลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาลที่ชัดเจนทุกด้าน

References

Black, P. B., Chitty, K. K. Professional Nursing : Concept & Challenge. Missouri :

Mosby/Elsevier; 2011.

นภชา สิงห์วีรธรรม, ยุพาวดี ขันทบัลลัง. สถานการณ์การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ ของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อความต้องการของระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(3):218-25.

ปัทมา ทองสม, อัจฉรา จั่นเพชร, ลิลลี่ ศิริพร, และ ชลธี หาญเบญจพงศ์. กระบวนการพัฒนา

อัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(3):547-60.

กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบัน

พระบรมราชชนก (ปรับปรุงที่1). กรุงเทพมหานคร; 2556.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, และวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. การศึกษากลวิธี

การพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.

วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2558; 13(2):117-32.

Fetterman, D.M., Kaftarian,S.J., & Wandersman,A. (Eds.). Empowerment

Evaluation: Knowledge and Tools for Self-Assessment, Evaluation Capacity

Building, and Accountability. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage; 2015.

เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์, วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, สมคิด พรมจุ้ย, และกรกนก ลัธธนันท์. การ

ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาล

สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการประเมินการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ. การพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกระทรวง

สาธารณสุข. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่;

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29