ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
: ความชุก, เกษตรกร, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ระหว่าง 1 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็น เกษตรกรจำนวน 305 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี Binary logistic regression
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ชายร้อยละ 72.5 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 52.9±9.1 ปี และทำการเพาะปลูกพืชเองร้อยละ 96.1 พฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 88.9 และพบความชุกของเกษตรกรเสี่ยงต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในระดับปกติ ปลอดภัย มีความเสี่ยง และ ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 13.1, 43.0, 28.2 และ 15.7 ตามลำดับ และปัจจัยที่สัมพันธ์คือ รับจ้างเพาะปลูกและอื่นๆ OR=4.03(95%CI=1.07-15.19) และการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชOR=0.58(95%CI=0.36-0.93)
สรุปผลการศึกษา : การส่งเสริมการลดใช้และให้ความรู้ในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรเน้นในกลุ่มที่รับจ้างปลูกและไม่ได้พ่นสารเคมีด้วยตัวเอง
References
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดลอม ป 2560 [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. การพยากรณ์โรค พิษสารกำจัดศัตรูพืชภาคเกษตรกรรม:การนำข้อมูลการเฝ้าระวังโรค 5 มิติ มาวิเคราะห์ [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/prognosis58/prognosis_plant_y58.pdf
กรมวิชาการเกษตร. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2020/01/HASTAT60_06รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร-ปี-พ.ศ-๒๕๖๐-ประเภทการใช้1.pdf
สำนักงานแรงงานจังหวัดมหาสารคาม. สถานการณ์แรงงานจังหวัดมหาสารคาม ไตรมาส 4 ปี 2560 [อินเตอร์เนต]. กระทรวงแรงงาน. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://mahasarakham.mol.go.th/news/สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดมหาสารคาม-ไตรมาส-4-ปี-2560-ตุลาคม-ธันวาคม
พิมพ์ลดา ภิรมย์จิตร, สุชาดา ภัยหลีกลี้. ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านนนาเหล่า อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;2:299–309.
วิเชียร จันต๊ะ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกัน กำาจัดศัตรูพืชกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเลือดเกษตรกร ตำาบลป่าแฝก อำาเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2558;16:39–50.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช.[อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/31858/1-56.pdf
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยการะดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส(Cholinesterase reactive paper) [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Crp.pdf
ฌาน ปัทมะ พลยง, ชนากานต์ กล้ากสิการ, พนิดา จงจิตร, ธัญชนก วงษ์เพ็ญ, โยธิน พลประถม, พิมพร พลดงนอก. การศึกษาแบบผสมผสานวิธี: พฤติกรรมการใช้สารกําจัดศัตรูพืชที่มีผลต่อ อาการเฉียบพลันของเกษตรกรทํานา อําเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 2563;9:104–15.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สรุปการนำเข้า/ส่งออก/ดุลการค้า [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. 2022 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx
ชาญณรงค์ ชัยสุวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ของเกษตรกร เขตสุขภาพที่ 1. เชียงรายเวชสาร. 2564;13:137–51.
อรุณรัตน์ ปัญจะ กลิ่นเกสร,เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ . การพัฒนาศักยาภาพการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพื้นที่ถูกต้องและปลอดภัยของเกษตรกร ตำบลดอนโอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11:60–8.
Sangpakdee K, Silprasert K, Peangthai D, Khwaiphan W, Siriyan S, Kroeksakul P. A study of chemical use behaviors of farmers in Ongkharak district, Nakhon Nayok province, Thailand. Khon Kaen Agr J. 2014;42:375–84.
ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ ์ อาภาศรีทองสกุล, มาลี สุปันตี. ความชุกของการมีสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาด และห้างสรรพสินค้าในอ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8:399–409.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม