ผลการรักษามะเร็งเต้านมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
มะเร็งเต้านม, ผลลัพธ์การรักษา, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, โรงพยาบาลมหาสารคามบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีวิจัย : รูปแบบการทำวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยและรายงานผลการตรวจทางพยาธิวิทยาทางระบบคอมพิวเตอร์
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 148 ราย (ร้อยละ 99.3), อายุ 32-83 ปี เฉลี่ย 53.69 +/- 10.20 ปี Tumor size ขนาด 0.1-16 cm เฉลี่ย 3.67+/- 1.99 cm, Histological type ส่วนใหญ่เป็น Invasive ductal carcinoma , NOS จำนวน 140 ราย (ร้อยละ 94.0) Histological grade ; ส่วนใหญ่เป็น Grade 2 จำนวน 97 ราย (ร้อยละ 65.1), ER positive จำนวน 90 ราย (ร้อยละ 60.4), PR positive จำนวน 75 ราย (ร้อยละ 50.3), Her-2 positive จำนวน 54 ราย (ร้อยละ 36.2), Ki-67 (มากกว่า 15%) จำนวน 66 ราย (ร้อยละ 44.3), สถานะปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ 86 ราย (ร้อยละ 57.7) , เสียชีวิต 63 ราย (ร้อยละ 42.3), 5-year survival ร้อยละ 63.8 , ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการรักษามะเร็งเต้านมที่สัมพันธ์กับ overall survival อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ PR positive , Her-2 positive , Ki-67 มากกว่า 15% , Presence of LVSI ,T stage , N stage , Pathological stage และ Endocrine therapy
สรุปผลการศึกษา : การรักษามะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลมหาสารคามได้ผลการรักษาเป็นไปตามมาตรฐานสากลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้า เมื่อทราบผลการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลมหาสารคามแล้ว แพทย์สามารถแนะนำผู้ป่วยรวมถึงพยากรณ์โรคได้ดีขึ้น โดยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีโรคดังกล่าวที่รักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม
References
Nantawan Ponsuwan, Sasithorn Sujarittanakarn. อุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านม: กรณีศึกษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. Thammasat Univ Hosp J Online. 2019 Aug 30;4(2):13–9.
ชุตินธร จังสถิตย์กุล. แนวโน้มของโรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีระหว่าง ปี พ.ศ. 2554 – 2556. Udonthani Hosp Med J. 2016;24(2):133–40.
ธีรวุฒิ รักชอบ. การศึกษาเปรียบเทียบชนิดการผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำและการกระจายของมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2021 Apr 30;36(1):169–79.
Phirada Ardwichai, Kamsa-ard S, Santong C, Somintara O, Satitvipawee P. อัตรารอดชีพและการเปรียบเทียบอัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Srinagarind Med J. 2021 Dec 29;36(6):664–70.
Trai Wongsiri, Apinya Chotiyano, Tipawan Triumvithayanon, Supinnda Koonmee. The Morphology of Breast Cancer Mass in Woman Patients, Srinagarind Hospital, Khon Kaen. Srinagarind Med J. 2016;31(5):270–5.
Ongart Somintara. Neoadjuvant Therapy in Breast Cancer. Srinagarind Med J. 2015;30(2):155–63.
Panuwat Lertsithichai. Breast Cancer and Breast Cancer Surgery in Thailand: A View from the Thai Journal of Surgery. Thai J Surg. 2021 Dec 30;42(4):134–52.
ทวีศักดิ์ รักแต่งาน. การศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษา(ผ่าตัด) ณ โรงพยาบาลตะกั่วป่า (ประสบการณ์ 8 ปี). Reg 11 Med J. 2015 Mar 2;29(1):75–83.
Mogana Darshini Ganggayah, Nur Aishah Taib, Yip Cheng Har, Pietro Lio, Sarinder Kaur Dhillon. Predicting factors for survival of breast cancer patients using machine learning techniques. BMC Med Inform Decis Mak. 2019 Dec;19(1):48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม