ความสัมพันธ์ของความเครียดและภาวะซึมเศร้าต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้าต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง โดยเก็บตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี ระหว่างเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2564 จำนวน 280 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต (5-ST) และ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต (2Q9Q) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 (p < 0.05)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.6 มีอายุเฉลี่ย 60 ปี มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.9 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง(HbA1C≥7 mg%) มีความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 70.9 ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 88.9 พบภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 11.6 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้ามีโอกาสเสี่ยงที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 0.404, 95%CI = 0.188-0.870, p-value = 0.022) ส่วนความเครียดไม่พบความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือด (p-value = 0.648)
สรุปผลการศึกษา : ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความเครียดไม่พบความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด แต่อย่างไรก็ตามควรให้ความสำคัญในการคัดกรองความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เพื่อป้องกันภาวะรุนแรงของโรคซึมเศร้า
References
World Health Organization.(2019).The top 10 causes of death. Cited 2021 January 5. Available from : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อปี 2559 – 2561 (ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,หัวใจขาดเลือด,หลอดเลือดสมอง,หลอดลมอักเสบถุงลมโป่งพอง). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564 จากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020
การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) การตรวจราชการประเด็นปัญหาสำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564 จาก http://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/uploads/inspector/2563-2/10
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2563. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564 จาก https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
American Diabetes Association. Classification and Diagnosis of Diabetes. Diabetes Care 2017; 40 (Suppl 1): S11-S24.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3.ปทุมธานี : โรงพิมพ์ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์,วโรดม ใจสนุก,เบญจา มุกตพันธุ์.ความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้าและความเครียดกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(1).
พิรุณี สัพโพ.ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพังโคน.ศรีนครินทร์เวชสาร.2553;25(4): 272-9
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ยุพา ถาวรพิทักษ์, วราลักษณ์ กิตติวัฒน์ไพศาล, อิงคฏา โคตรนารา, เนตรชนก แก้วจันทา. ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย 2557; 59(3): 287-98.
จารุวรรณ ไผ่ตระกูล, ศรีสุดา รัศมีพงศ์, กวินนา พันธ์สวัสดิ์, สุนัฐนันท์ พิมตะครอง, เบญจรัตน์ นรภาร, ภัทรภา สิริวิริยะพัฒน และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560.
ชนัญช์ แจ่มจิตรตรง, รัตนา สําโรงทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน(ชนิดที่ 2) ในชุมชนชนบทของประเทศไทย. วารสารสหเวชศาสตร์ 2562; ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – ธันวาคม.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน.
ณาเดีย หะยีปะจิ, พิสิษฐ์ พวยฟุ้ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย.วารสารการพยาบาล 2562; ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม.
อมรรัตน์ รักฉิม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.การประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10. 2561; 27-28 มีนาคม.
อรพินท์ สีขาว, รัชนี นามจันทรา, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 39-49.
Roy MS, Roy A, Affouf M. Depression is a risk factor for poor glycemic control and retinopathy in African-Americans with type 1 diabetes. Psychosom. Med 2007; 69: 537–42.
Annor FB, Roblin DW, Okosun IS, Goodman M. Work-related psychosocial stress and glycemic control among working adults with diabetes mellitus. Diabetes Metab Syndr 2015; 9: 85-90.
Siddiqui A, Madhu SV, Sharma SB, Desai NG. Endocrine stress responses and risk of type 2 diabetes mellitus. Stress 2015; 25: 1-9.
Segal J, Smith M, Segal R, and Robinson L. Stress Symptoms, Signs, and Causes. Cited 2021 January 5. Available from: http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-symptoms-causes-and-effects.htm; 2021.
พัชรินทร์ ชนะพาห์, พิศมัย กิจเกื้อกูล. ความเครียดกับกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร 2556; 31: 253-60.
จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การทบทวนวรรณกรรมปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564 จาก http://www.jvkk.go.th/researchnew/; 2564.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ยุพา ถาวรพิทักษ์, วราลักษณ์ กิตติวัฒน์ไพศาล, อิงคฏา โคตนารา,เนตรชนก แก้วจันทา. ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2557; 59: 287-98.
ศิระ เมืองไทย. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2556; 28: 109-20.
นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57: 439-46.
Ali S, Stone MA, Peters JL, Davies MJ, Khunti K. The prevalence of co-morbid depression in adults with type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis. Diabet Med 2006; 23: 1165–73.
Pouwer F. Should we screen for emotional distress in type 2 diabetes mellitus?. Nat Rev Endocrinol 2009; 5: 665–71.
Fiore V, Marci M, Poggi A, Giagulli VA, Licchelli B, Iacoviello M, et al. The association between diabetes and depression: a very disabling condition. Endocrine 2015; 48: 14-24.
Park M, Katon WJ, Wolf FM. Depression and risk of mortality in individuals with diabetes: a metaanalysis and systematic review. Gen Hosp Psychiatry 2013; 35: 217-25.
Crispín-Trebejo B, Robles-Cuadros MC, Bernabé-Ortiz A. Association between depression and glycemic control among type 2 diabetes patients in Lima, Peru. Asia Pac Psychiatry 2015; [Epub ahead of print].
Pouwer F, Snoek FJ. Association between symptoms of depression and glycaemic control may be unstable across gender. Diabet Med 2001; 18: 595-8.
Hamer M, Batty GD, Kivimaki M. Haemoglobin A1c, fasting glucose and future risk of elevated depressive symptoms over 2 years of follow up in the English Longitudinal Study of Ageing. Psychol Med 2011; 41: 1889-96.
Mathew CS, Dominic M, Isaac R, Jacob JJ. Prevalence of depression in consecutive patients with type 2 diabetes mellitus of 5-year duration and its impact on glycemic control. Indian J Endocrinol Metab 2012; 16: 764-8.
Singh H, Raju MS, Dubey V, Kurrey R, Bansal S, Malik M. A study of sociodemographic clinical and glycemic control factors associated with co-morbid depression in type 2 diabetes mellitus.
Rotella F, Mannucci E. Depression as a risk factor for diabetes: a meta-analysis of longitudinal studies. J Clin Psychiatry 2013; 74: 31-7.
Kikuchi Y, Iwase M, Fujii H, Ohkuma T, Kaizu S, Ide H, et al. Association of severe hypoglycemia with depressive symptoms in patients with type 2 diabetes: the Fukuoka Diabetes Registry. BMJ Open Diabetes Res Care 2015; 3: e000063.doi: 10.1136/bmjdrc-2014-000063.
van der Feltz-Cornelis CM, Nuyen J, Stoop C, Chan J, Jacobson AM, Katon W, et al. Effect of interventions for major depressive disorder and significant depressive symptoms in patients with diabetes mellitus: a systematic review and meta-analysis. Gen Hosp Psychiatry 2010; 32: 380-95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม