ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความกังวลต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคาม ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19), ความกังวล, บุคลากรทางการแพทย์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความกังวลต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคาม ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางกลุ่มประชากรคือบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 233 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2021 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด ST5 และแบบคัดกรองความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ของกรมสุขภาพจิต 2020 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยหาความสัมพันธ์โดยวิธี Pearson Chi square และ Independent sample T-Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 (p-value < 0.05)
ผลการศึกษา : เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร 233 คน เป็นเพศหญิง 190 คน (ร้อยละ 81.5) เพศชาย 43 คน(ร้อยละ 18.5) อายุมัธยฐานของประชากรคือ 35 ปี พบความชุกของความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ในระดับต่ำ 31 คน (ร้อยละ 13.3) ระดับปานกลาง 184 คน (ร้อยละ 79.0) และระดับสูง 18 คน (ร้อยละ 7.7) การศึกษานี้พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 นั้นมี 5 ปัจจัยได้คือ ปัจจัยเรื่องความเพียงพอของรายได้ สถานภาพการสมรส แผนกที่ทำงาน อายุการทำงาน และอายุของผู้เข้าร่วมการศึกษา
สรุปผลการศึกษา : ความชุกของความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 79) กลุ่มที่มีรายได้ไม่เพียงพอ กลุ่มที่แต่งงานแล้ว กลุ่มที่อายุน้อยและมีอายุการทำงานที่น้อยกว่า เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 จึงควรมีการเฝ้าระวังประชากรกลุ่มนี้และให้การดูแลช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
References
World Health Organization. Coronavirus disease covid-19 [Internet]. 2021 [cited 2021 June 5]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลกรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. พิมพ์ครั้งที่1. จังหวัดนนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563
Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta bio-medica : Atenei w2swParmensis. 2020;91(1):157-60
Cheng PK, Wong DA, Tong LK, Ip SM, Lo AC, Lau CS, et al. Viral shedding patterns of coronavirus in patients with probable severe acute respiratory syndrome. Lancet 2004; 363(9422): 1699-700.
Department of Disease Control. [Cited 2020 Mar 21]. Available from: https://www.ph.mahidol. ac.th/news/covid19/Edited_COVID-19%20byDDC-MOPH.pdf
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19.วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;4: 616-627.
Kisely S, Warren N, McMahon L. Occurrence, prevention, and management of the psychological effects of emerging virus outbreaks on healthcare workers: rapid review and meta-analysis. BMJ 2020;369:m1642.
Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors Associated with Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA network open. 2020;3(3): e203976.
ธัญยธรณ์ ทองแก้ว. ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก. Chula Med J 2018; 62: 197-209.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม