รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง, ผู้ใช้ยาเสพติดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบทของการบำบัดยาเสพติดในชุมชน พัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้เสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยใช้แนวคิดของ Kemmis และ Mctaggart (1988) ระยะเวลาวิจัย 1 มิถุนายน 2561–31 ธันวาคม 2563 ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ผู้ใช้ยาเสพติด 21 คน แกนนำชุมชน 15 คน ตัวแทนแกนนำครอบครัว 24 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 11 คน ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดใน อบต. 1 คน ใน รพ.สต 2 คน ครูและพัฒนาชุมชน 2 คน ตำรวจในพื้นที่ 2 คน รวม 78 คน
ผลการศึกษา : พบว่า ปี 2561 มีผู้ใช้ยาเสพติดรับการบำบัดคิดเป็นร้อยละ 23.07 ผู้ติดยามีอาการทางจิตสร้างความเดือดร้อนไม่ได้รับการดูแล 2 ราย ยาเสพติดถูกนำเข้ามาโดยกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ปี 2562 นำปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง พบผู้ใช้ยาเสพติดคิดเป็นร้อยละ 37.50 ผู้ติดยาที่มีอาการทางจิตได้รับการดูแล 1 ราย จาก 2 ราย ปี 2563 นำปัญหามาพัฒนาตามแนวคิดการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) ใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง 9 ขั้นตอน ร่วมกับกระบวนการบำบัดในชุมชน 4 ขั้นตอน และมาตรการของชุมชน บำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด 21 ราย พบว่า ผู้ใช้ยาเสพติดเปิดเผยตนเองเข้ารับการบำบัด 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.47 (ต้องโทษจำคุก 2 ราย) ผู้ติดยาที่มีอาการทางจิตทุกรายได้รับการรักษา ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ผ่านการบำบัดทุกคนไม่กลับไปเสพซ้ำและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
สรุปผลการศึกษา : การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชุมชนต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมกระบวนการทุกขั้นตอน ชุมชนเป็นเจ้าของสามารถตรวจสอบได้ เป็นวิธีการบำบัดที่แทรกแซงชีวิตประจำวันปกติน้อยกว่าการรักษาอื่นๆ ได้รูปแบบของการบำบัดรักษาที่ตรงกับความต้องการของชุมชนและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
References
United Nations on Drugs and Crime. World Drug Report. เอกสารเผยแพร่เรื่องการบำบัดรักษา
โดยมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาเสพติด; 2017.
มานพ คณะโต. การสำรวจข้อมูลผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม. สรุปผลการดำเนินงานยาเสพติด. มหาสารคาม : เอกสารอัดสำเนา; 2559.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้
ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: บ.บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2561.
อังกูร ภัทรากร ธัญญา สิงห์โต สําเนา นิลบรรพ. การศึกษาต้นทุนรายกิจกรรมของสถาบันธัญญารักษ์
และการขาดงานของผู้ติดยาเสพติด: วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558;24(2): 305-316.
Kemmis, S., McTaggart, R .The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong. Australia:
Deakin University; 1988.
นันทา ชัยพิชิตพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า : การวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
นุรินยา แหละหมัดและคณะ. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดขณะ
บำบัดรักษาในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดสงขลา. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม
. เข้าถึงได้จาก: https://www.sdtn.in.th/paper/24
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม