ภาวะ re-displacement ในกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
คำสำคัญ:
กระดูกเรเดียสส่วนปลายหัก, re-displacement associated factors, โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษาภาวะ re-displacement และปัจจัยที่สัมพันธ์กับกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
วิธีการดำเนินการวิจัย : รูปแบบการวิจัย (Research design) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic study by retrospective data collection) โดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยทางระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะกระดูกเรเดียสส่วนปลายหัก ที่รักษาในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561- 31 ธันวาคม 2564
ผลการศึกษา : จากการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 91 ราย พบว่าอายุอยู่ระหว่าง 16-89 ปี, ส่วนสูง 140-178 เซนติเมตร, น้ำหนัก 35-97 กิโลกรัม, ข้างที่หักข้างซ้ายมากกว่าเล็กน้อย 51.6%, ส่วนใหญ่ถนัดข้างขวา 95.6%, กลไกการบาดเจ็บเป็นแบบ Low energy 82.4%, ประเภทของกระดูกหักเป็นแบบ Bending fracture 72.5%, การรักษาทั้งหมดเป็นการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมโดยการใส่เฝือก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ Re-displacement ที่ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ภายหลังจากการรักษา และที่ระยะเวลา 4-5 สัปดาห์ภายหลังจากการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบไปด้วย Unacceptable alignment, Associated ulnar fracture , Residual post-reduction displacement, Dorsal comminution, และมีอาการปวดหลังการรักษา และอายุเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา : ในผู้ป่วยสูงอายุที่มี displacement ใน post reductionและ dorsal comminution จากภาพภาพถ่ายทางรังสี มีโอกาสเกิด re-displacementมากขึ้น ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงควรพิจารณาติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิด re-displacement หลังการเข้าเฝือก หรือพิจารณารับการรักษาด้วยการผ่าตัด
References
Hove LM, Solheim E, Skjeie R, Sorensen FK. Prediction of secondary displacement in Colles' fracture. J Hand Surg Br. 1994;19(6):731-6.
Kim JO, Yun YH, Kim DW, Koh YD, Yoo JD, Chang J. Evaluation of radiological results after closed reduction in colles' fracture. J Korean Fract Soc. 2001;14(1):113-20
Jenkins NH. The unstable Colles' fracture. J Hand Surg Br. 1989;14(2):149-54.
Makhni EC, Ewald TJ, Kelly S, Day CS. Effect of patient age on the radiographic outcomes of distal radius fractures subject to nonoperative treatment. J Hand Surg Am. 2008;33(8): 1301-8.
Eric C. Makhni, Timothy J. Ewald, Sean Kelly, Charles S. Day. Effect of patient age on the radiographic outcomes of distal radius fractures subject to nonoperative treatment. J Hand Surg. 2008 Oct;33(8):1301–8.
Ho-Wook Jung, Hanpyo Hong, Hong Jun Jung, Jin Sam Kim, Ho Youn Park, Kun Hyung Bae, et al. Redisplacement of Distal Radius Fracture after Initial Closed Reduction: Analysis of Prognostic Factors. Clin Orthop Surg. 2015;7(3):377.
Lafontaine M, Hardy D, Delince P. Stability assessment of distal radius fractures. Injury. 1989;20(4):208-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม