บทบาทของผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือ DSPM
คำสำคัญ:
พัฒนาการเด็ก, บทบาทผู้ปกครอง, คู่มือ DSPMบทคัดย่อ
เด็กคืออนาคตของชาติ การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้น การปูพื้นฐานในช่วงแรกของชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านสมอง การที่เด็กที่มีพัฒนาการที่ดี จะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวได้ดี มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ดีกว่าเด็กที่มีพัฒนาการที่ล่าช้า พัฒนาการของเด็กปฐมวัยจึงเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานของชีวิตและจิตใจ เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ
5 ปี มีความสำคัญต่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ พัฒนาการที่ผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อการเสียโอกาสที่จะมีพัฒนาการก้าวหน้าตามวัย ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม ผู้ปกครองคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เป็นผู้ช่วยในการดูแลเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตแข็งแรงตามวัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ปกครองจึงมีบทบาทที่สำคัญมากในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยแรกของชีวิต บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ปกครอง ในการประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้คู่มือ DSPM ซึ่งเป็นคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความตระหนัก ใส่ใจ และมองเห็นถึงความสำคัญของการประเมินพัฒนาการบุตรหลาน เพื่อให้บุตรหลานมีพัฒนาการที่ดี สมวัยตามเกณฑ์ สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขสืบไป
References
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย.[อินเทอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ29 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50.
บุษบา อรรถาวีร์,และบำเพ็ญ พงค์เพชรดิถ.รูปแบบการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์อนามัยที่5ราชบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมย์. 2561; 13(3): 229-242
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสองพ.ศ.2560- 2564. กรุงเทพฯ: สำนัก นายกรัฐมนตรี;2562.
พนิดา ศิริอำพันธ์กุล.ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยการเล่นต่อความรู้ การดูแลเด็กของพ่อแม่และพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กออทิซึม.วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(1): 311-320.
ยุทธนา ศิลปรัสมี และคณะ.การศึกษาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช.[อินเทอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก nstru.ac.th/homeex/eportfolio//pic/academy/24913974.pdf? 1605807160.
มนัสมีน เจะโนะ,และรอฮานิ เจะอาแซ.ผลของโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ2-5ปี.วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2562; 30(2): 80-88.7.
Siriratraekha,T.Child Development.Retrieved. [Internet].2006 [cited 2016 14 August].Available from:
http://www.happyhomeclinic.com/academy/sp02-development.pdf. (in Thai);
มยุรา วิริยเวช. บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย:กรณีศึกษา ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2561; 12(2): 133-147.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม