ปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปาลิตา พูลเพิ่ม
  • นงเยาว์ มีเทียน
  • อภิญญา วงศ์พิริยโยธา

คำสำคัญ:

ปัญหาและความต้องการ, การบันทึกทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลสุทธาเวช

     วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาล 27 คน แพทย์ 4 คน และแฟ้มประวัติของผู้ป่วย 30 แฟ้ม ศึกษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุทธาเวช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล มีค่า Interrater Reliability > .8  2) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม และ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

     ผลการศึกษา : ผลการวิจัยมีดังนี้

  1. ปัญหาของการบันทึกทางการพยาบาล พบว่า 1) การประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล

ส่วนใหญ่ทุกข้อมีคะแนนอยู่ในระดับ 1 คือ ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน และไม่ได้ใจความ (> ร้อยละ 80)  
2) จากการสนทนากลุ่ม พบประเด็นปัญหา 4 ประเด็น เกี่ยวกับแบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาล คือ 1) วิธีการเขียนแบบบันทึก 2) ความสามารถในการเขียนบันทึก 3) การประเมินผล และ 4) การตรวจสอบ

  1. ความต้องการการบันทึกทางการพยาบาล พบว่า พยาบาลต้องการ 1) พัฒนาศักยภาพ

การเขียนบันทึกทางการพยาบาล โดยให้มีผู้เชี่ยวชาญมาสอนวิธีการเขียนที่ถูกต้อง มีคู่มือการเขียนบันทึกการพยาบาล 2) ปรับปรุงแบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาล และ 3) มีระบบการประเมิน และ 4) มีการตรวจสอบ                                                                                                        

     สรุปผลการศึกษา : จากผลการวิจัยบ่งชี้ว่า พบปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุทธาเวช ดังนั้นทางผู้บริหารทางการพยาบาลควรมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลตามปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาล โดยให้พยาบาลมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

References

ปราณี อัศวรัตน์. บันทึกทางการพยาบาล: หลักการบันทึกเพื่อการใช้ประโยชน์ทางกฎหมาย. วารสารพยาบาลสถากาชาดไทย. 2555;5(2): 24-32.

กาญจนา ธานะ และอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. บันทึกทางการพยาบาล: หลักฐานสำคัญสำหรับพยาบาลวิชาชีพ (Nursing documentation: The nurses’ most important evidence). พยาบาลสาร. 2558;42(1): 164-170.

Moorhead, S., Swanson, E. Johnson, M., & Mass, M. (Eds.). Nursing Outcome

Classification (NOC): Measurement of health outcomes. (6th ed.). St Louis: Elservier;

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สภาการพยาบาล และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือแนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. (Medical Record Audit Guideline). กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

Cheevakasemsook, A., Moolsart, S., & Noimuenwai, P. Apply research finding subject: Development of a Nursing record model on the use of nursing process Lam Luk Ka hospital to provide academic services to society. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2013. (in Thai).

ดวงแก้ว พรรณพราว และนงเยาว์ มีเทียน. การพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้รับบริการหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563;17(2): 85-93.

Komlomlird, U. The development of a nursing record model in a neonatal intensive care unit of Samutsakhon hospital [Master Thesis of Nursing Science]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2012. (in Thai).

พาณี วิรัชชกุล บุญทิพย์ สิริธรังศรี อารี ชีวเกษมสุข และยุวดี เกตสัมพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2021;32(2): 186-201.

พรศิริ พันธศรี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์อักษรจำกัด; 2554.

สาวิตรี ใหมโบราณ อาภัสรา พันขาม และนุชนาฏ แสนสุข. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Develop of nursing documentation on focus charting nursing record). วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565;19(1): 173-179.

โสภา คำชัยเล็ก เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล และทวียาพรรณ สุภามณี. การพัฒนาคุณภาพการตรวจบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ. พยาบาลสาร. 2559;43(4): 105-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29