การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ บูรณวรศิลป์

คำสำคัญ:

รูปแบบการออกกำลังกาย, ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, องค์กรแพทย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพัฒนาใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แนวคิดของ Kemmis & McTaggart และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แบ่งระยะการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการ และ3) ระยะประเมินผล เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.94 และ 2) รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้นเอง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.87 เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 74 คน ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม 2565 เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติ paired T-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับขั้นความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ขั้นเริ่มปฏิบัติ ร้อยละ 44.6 ใช้เวลาออกกำลังกายเฉลี่ย 50.06 นาที/ ครั้ง หรือ 3.43 ครั้ง/ สัปดาห์
วิธีออกกำลังกายส่วนใหญ่ คือ การเดิน ร้อยละ 48.6 หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรม
การออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีลำดับขั้นความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ความสมดุลยภาพในการตัดสินใจในการออกกำลังกายและดัชนีมวลกายเฉลี่ย แตกต่างกับระยะก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

สรุปผลการศึกษา: รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาจากทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการออกกำลังกายและควรขยายผลการศึกษาไปยังสหสาขาวิชาชีพอื่นและส่งเสริมสุขภาพในประเด็นอื่น ๆ

References

ปริชมน พันธุ์ติยะ. โรคอ้วนในวิชาชีพแพทย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;14(1):19-25.

ศิริพร พุทธรังสี, ชวลี บุญโต, สายสมร เฉลยกิตติ, นุชรัตน์ มังคละคีรี, หทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม.

การสร้างเสริมสุขภาวะของบุคลากรทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21 Health behaviors, Health workplace and happy life among healthcare providers in the 21st Century. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Sep. 16 [cited 2022 May 18];16(2):8-14.

Puhl RM, Gold JA, Luedicke J, DePierre JA. The effect of physicians' body weight on patient attitudes: implications for physician selection, trust and adherence to medical advice. Int J Obes (Lond). 2013;37(11):1415-21.

Ajani UA, Lotufo PA, Gaziano JM, Lee IM, Spelsberg A, Buring JE, Willett WC, Manson JE. Body mass index and mortality among US male physicians. Ann Epidemiol. 2004;14(10):731-9.

Bleich SN, Bennett WL, Gudzune KA, Cooper LA. Impact of physician BMI on obesity care and beliefs. Obesity (Silver Spring). 2012;20(5):999-1005.

World Health Organization (WHO). World health statistics 2013. HO Press, World Health Organization, Avenue Appia, Geneva, Switzerland, 2013

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.2554

กรฎา มาตยากร. การปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายตามแนวคิดรูปแบบจำลองขั้นตอน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. 2561; 10(2): 108-18

Liu KT, Kueh YC, Arifin WN, Kim Y, Kuan G. Application of transtheoretical model on

behavioral changes, and amount of physical activity among university's students. Front Psychol. 2018; 17(9):2402

Lee JE, Lee DE, Kim K, Shim JE, Sung E, Kang JH, Hwang JY. Development of tailored nutrition information messages based on the transtheoretical model for smartphone application of an obesity prevention and management program for elementary-school students. Nutr Res Pract. 2017; 11(3):247-256.

Baysal HY, Hacıalioğlu N. The effect of transtheoretical model-based education and follow-up on providing overweight women with exercise behavior. IJCS.2017;10(1);471-8

สมนึก กุลสถิตพร, วัลลา ตันตโยทัย, ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์, สิริเนตร กฤติยาวงศ์, นิภา

โรจน์รุ่งวศินกุล, จงจิตร อังคทะวานิชและคณะ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออก

กำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551; 2(3): 1447 – 55

จีรารักษ์ โสกัณทัต, กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน, สุรินธร กลัมพากร, อนันต์ มาลารัตน์. การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีรูปแบบขั้นตอน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสูงอายุ. 2562;33 Online: 67-86.

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการตรวจสุขภาพประจำปี. เอกสารอัดสำเนา, 2564

Kemmis, McTaggart R. The action research planner, 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia. 1988.

Boonchuaykuakul J. Effectiveness of applying the transtheoretical model to improve physical activity behavior of university students. [doctoral dissertation], Oregon State University Corvallis; 2005.

World Health Organization. Guidelines on physical activity, sedentary behaviour

and sleep for children under 5 years of age. Genava. 2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29