ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท
คำสำคัญ:
แผลกดทับ, ผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท, ปัจจัยสัมพันธ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเกิดแผลกดทับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงบรรยายแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท ที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมและหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 125 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Chi-square
ผลการศึกษา: 1) กลุ่มตัวอย่างเกิดแผลกดทับ ร้อยละ 24.8 มีความรุนแรงของแผลกดทับระดับ 2
ร้อยละ 67.74 และระดับ 1 ร้อยละ 25.81 2) โรคร่วมเบาหวาน (χ2 = 6.30, p = .012)โรคร่วมที่เกี่ยวกับหลอดเลือด (χ2 = 21.49, p = <.001) การสูบบุหรี่ (χ2 = 8.77, p = .003) อุณหภูมิกายสูง (χ2 = 5.46, p = .019) ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด (χ2 = 5.06, p = .025) ภาวะซีด (χ2 = 8.02, p = .005) ปัญหาการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ (χ2 = 4.36, p = .037) และการได้รับยากระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด (χ2 = 17.23, p = <.001) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท ได้แก่ โรคร่วมเบาหวาน โรคร่วมเกี่ยวกับหลอดเลือด สูบบุหรี่ อุณหภูมิกายสูง ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ภาวะซีด ปัญหาการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ และได้รับยากระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด ดังนั้นในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาทจึงควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
References
Feigin VL, Brainin M, Norrving B, Martins S, Sacco RL, Hacke W, Fisher M, Pandian J, Lindsay P. World Stroke Organization (WSO): Global stroke fact sheet 2022. Int J Stroke. 2022;17(1):18-29.
Dhandapani M, Dhandapani S, Agarwal M, Mahapatra AK. Pressure ulcer in patients with severe traumatic brain injury: significant factors and association with neurological outcome. J Clin Nurs. 2014; 23(7-8):1114-9.
Osis SL, Diccini S. Incidence and risk factors associated with pressure injury in patients with traumatic brain injury. Int J Nurs Pract. 2020;26(3): p12821.
อุบลรัตน์ วิสุทธินันท์และกฤตพัทธ์ ฝึกฝน. ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
ระดับปานกลางและรุนแรงต่อการเกิดแผลกดทับและภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2559;17(3): 33-41
National Pressure Ulcer Advisory Panel. Na-tional Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP) announces a chang in terminology from pressure ulcer to pressure injury and update the stages of pressure injury. Apr 13; 2016.
European Pressure Ulcer Advisory Panel, National Pressure Injury Advisory Panel and Pan Pacific Pressure Injury Alliance. Prevention and treatment of pressure ulcers/injuries: quick reference guide. Emily Haesler (Ed.). EPUAP/NPIAP/PPPIA: 2019.
สุชาดา นิลบรรพต และอัมพรพรรณ ธีราบุตร. ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2562; 42(3): 1-10.
Cox BJ, Roche S. Vasopressors and development of pressure ulcers in adult critical care patients. AJCC 2015;24(6): 501-10.
Yoon JE, Cho OH. Risk factors associated with pressure ulcers in patients with traumatic brain injury admitted to the intensive care unit. Clin Nurs Res. 2022;31(4):648-655.
กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานตัวชี้วัดประจำปี. เอกสาร
อัดสำเนา, 2563
หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมและหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาสารคาม.
รายงานตัวชี้วัดแผลกดทับ. เอกสารอัดสำเนา, 2563
ชยพล ศิรินิยมชัย. การจัดการแผลเท้าเบาหวาน: บทบาทของพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561; 24(1); 1-14.
Liang M, Chen Q, Zhang Y, He L, Wang J, Cai Y, Li L. Impact of diabetes on the risk of bedsore in patients undergoing surgery: an updated quantitative analysis of cohort studies. Oncotarget. 2017;8(9):14516-24.
Lima Serrano M, González Méndez MI, Carrasco Cebollero FM, Lima Rodríguez JS. Risk factors for pressure ulcer development in intensive care units: a systematic review. Med Intensiva. 2017;41(6):339-46.
Nassaji M, Askari Z, Ghorbani R. Cigarette smoking and risk of pressure ulcer in adult intensive care unit patients. Int J Nurs Pract. 2014;20(4):418-23.
Nijs N, Toppets A, Defloor T, Bernaerts K, Milisen K, Van Den Berghe G. Incidence and risk factors for pressure ulcers in the intensive care unit. J Clin Nurs. 2009;18(9):1258-66.
วุฒิชัย สมกิจและณิชาภัตร พุฒิคามิน. Fever management within the first 72 hours in patients with severe traumatic brain injury. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(1): 153-63
วุฒิชัย สมกิจและชัจคเณค์ แพรขาว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ระยะ 72 ชั่วโมงแรกและได้รับการผ่าตัดสมอง. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2562;14(2): 33-54
Serra R, Caroleo S, Buffone G, Lugarà M, Molinari V, Tropea F, et al. Low serum albumin level as an independent risk factor for the onset of pressure ulcers in intensive care unit patients. Int Wound J. 2014;11(5):550–3.
Deng X, Yu T, Hu A. Predicting the risk for hospital-acquired pressure ulcers in critical care patients. Crit Care Nurse. 2017;37(4):1–11
ผกามาศ พีธรากร. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์:บทบาทพยาบาล. หัวหินเวชสาร. 2564;1(1): July 1 [ahead of print]
Lachenbruch C, Ribble D, Emmons K, VanGilder C. Pressure ulcer risk in the incontinent patient: analysis of incontinence and hospital-acquired pressure ulcers from the International Pressure Ulcer Prevalence™ Survey. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2016;43(3):235-41.
Park KH, Choi H. Prospective study on Incontinence-Associated Dermatitis and its Severity instrument for verifying its ability to predict the development of pressure ulcers in patients with fecal incontinence. Int Wound J. 2016;13 (Suppl 1):20-5.
อินทนนท์ อิ่มสุวรรณ. ยากระตุ้นการหดตัวกล้ามเนื้อหลอดเลือดที่ใช้ในห้องฉุกเฉิน. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2558;15(1): 104-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม