ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม

ผู้แต่ง

  • ศิราณี อิ่มน้ำขาว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิภาดา ดวงพิทักษ์
  • ไรจูณ กุลจิติพงศ์
  • อลิสา ผาบพุทธา

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม, ความสามารถของผู้ดูแล, ผู้ป่วยเด็กโรคปอดบวม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม

รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม ในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม 15 คนต่อกลุ่ม ระหว่าง พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 โปรแกรม ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติในการมีส่วนร่วม 2) วีซีดีการเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก 3) วีซีดีการดูแลเด็กเมื่อต้องพ่นยา    4) แผ่นพับการดูแลเด็กโรคปอดบวม ประเมินความสามารถของผู้ดูแลด้วยแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney Test

ผลการวิจัย : หลังให้โปรแกรมพบผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีความสามารถด้านการป้องกันการสำลัก การดูแลเมื่อเด็กมีน้ำมูก ไอ ดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและการดูแลในภาพรวมเพิ่มมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรม และมีความสามารถในการดูแลเด็กโรคปอดบวมมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p- value < 0.01)

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลเด็กโรคปอดบวมในด้านการป้องกันการสำลัก การดูแลเมื่อมีน้ำมูก ไอ การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและสามารถแลกเปลี่ยนกับบุคลากรทางการแพทย์ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อเด็กได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพและช่วยป้องกันการเกิดปอดบวมซ้ำในเด็กได้

References

World Health Organization. World health statistics 2017: Monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. L’IV Com Sàrl, Villars-sous-Yens, Switzerland; 2017.

สุภรี สุวรรณจูฑะและคณะ. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ ไพร์ จำกัด; 2557.

ศริญญา ไชยยา. โรคปอดอักเสบ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558, 2558;47(28):101–103.

Klossner, N. & Hatfield, T. Introductory maternity & pediatric nursing. Philadelphia: Lippincottwilliu & wilkins; 2010.

Grealish, L.The skill of coach are an essential element in clinical Learning. Journal of Advance Nursing 2000;13: 649-661.

กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม.สถิติจากหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีพ.ศ.2561-2563.โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2564.

Schepp, K. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parents of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA, USA; 1995.

Karen, S.P., & Jeffrey, S.R. Family presence during invasive procedures in the pediatric intensive care unit. Archives of Pediatrics & Adolescent Medicine 1999; 153: 955-958.

Asumpinzup, U.The parental role in caring for children with congenital heart disease. Thai Journal of Pediatrics 2001; 1(2): 6-11.

Isarachot, N.The Effect of a Maternal Participation in Child Care Program on Maternal Stressor at a Pediatric Intensive Care Unit. Master thesis. Prince of Songkla University. 2014. (in Thai)

Rattanapibun, K., Kongsaktrakul, C., & Patoomwan, A.Parent Participation in the Care of Hospitalized Children. Ramathibodi Nursing Journal 2011; 17(2): 232-247.

ดวงเนตร์ ภู่วัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560; 19(2):35-44.

สุทธินี สุปรียาพร, พัชราภรณ์ อารีย์และสุธิศา ล่ามช้าง.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบซ้ำ.พยาบาลสาร 2564; 48(4): 146-159.

มนรส อภิญญาลังกร, วราภรณ์ ผาทอง และ รัตนาภรณ์ ภูมิรินทร์.ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27 (ฉบับเพิ่มเติม) : 139-151.

สมฤดี เลิศงามมงคลกุล.ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล); 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27