งานวิจัยการสำรวจสายตาผิดปกติของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สิราภรณ์ เศรษฐบรรจง ophthalmology ,Khonkaen hospital

คำสำคัญ:

การวัดค่าสายตาโดยวิธีสลายการเพ่งก่อน, สายตาสั้น, สายตายาว, สายตาเอียง, ตาขี้เกียจ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น ที่มีภาวะค่าสายตาผิดปกติด้วยวิธีสลายการเพ่งก่อน และความชุกภาวะตาขี้เกียจอันมีสาเหตุมาจากภาวะค่าสายตาผิดปกติ

     รูปแบบและวิธีวิจัย : วิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลังในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น 12,293 ราย ที่เข้าโครงการเด็กไทยสายตาดีโรงพยาบาลขอนแก่นปีการศึกษา 2560 เก็บข้อมูลได้แก่ อายุ, ระดับสายตาก่อนและหลังได้รับการแก้ไขค่าสายตา, ค่าสายตา, ภาวะร่วมตาขี้เกียจ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความชุกค่าสายตาผิดปกติ และ ความชุกภาวะตาขี้เกียจ โดยจำแนกค่าสายตาเป็นกลุ่มสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สายตาผิดปกติร่วม(สั้นหรือยาวร่วมกับเอียง)

     ผลการศึกษา : เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น มีอายุระหว่าง 6-8 ปี พบมีผลคัดกรองผิดปกติ 56 ราย (ร้อยละ 0.46) ผลการจำแนกพบว่ามีภาวะร่วม(สั้นหรือยาวร่วมกับเอียง) 29 ราย (ร้อยละ 51.79) สายตาเอียง 13 ราย (ร้อยละ 23.21) ภาวะสายตาสั้น 11 ราย (ร้อยละ 19.64)  สายตายาว 3 ราย (ร้อยละ 5.36) พบปัญหาร่วมอื่น ได้แก่ ตาขี้เกียจ 3 ราย (ร้อยละ 5.36) ตาเข 3 ราย (ร้อยละ 5.36)

     สรุปผลการศึกษา : จำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่นที่ได้รับการคัดกรอง 12,293 ราย พบมีผลคัดกรองผิดปกติ 56 ราย (ร้อยละ 0.46) ตาขี้เกียจ 3 ราย (ร้อยละ 5.36) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเฝ้าระวังเด็กที่การมองเห็นผิดปกติในช่วงอายุดังกล่าว และนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการร่วมของภาครัฐและเอกชน ทำให้มีการส่งต่อจักษุแพทย์ทันเวลา เพื่อค้นหาอาการร่วมอื่น และรักษาอย่างเหมาะสม

References

Hashemi H, Fotouhi A, Yekta A, Pakzad R, Ostadimoghaddam H, Khabazkhoob M, et al. Global and regional estimates of prevalence of refractive errors: Systematic review and meta-analysis. Journal of Current Ophthalmology 2018;30:3-22.

Yingyong P. Refractive errors survey in primary school children(6-12 year old) in 2 provinces: Bangkok and Nakhonpathom (one year Result). J Med Assoc Thai 2010;93(10):1205-10.

Pascual M, Huang J, Maguire M, Kulp M, Quinn G, Ciner E, et al. Risk Factors for Amblyopia in the Vision In Preschoolers Study. Ophthalmology. 2014;121(3):622–629.

Amblyopia preferred practice pattern. American Academy of Ophthalmology published 2017 เข้าถึงได้จาก

https://www.aao.org/preferred-practice pattern/amblyopia-ppp-2017

Shin Hae Park. Current management of childhood amblyopia. Korean J Ophthalmol 2019;33(6):557-568.

Pediatric Eye Disease Investigator Group. A randomized trial of atropine vs. patching for treatment of moderate amblyopia in children. Arch Ophthalmol 2002;120(3):268-78.

K Kirandeep, G Bharat. Cycloplegic And Noncycloplegic Refraction. published 2022 เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK580522/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27