การพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยครอบครัวบำบัดและการเสริมสร้างแรงจูงใจ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ยะวร -
  • ชยพล ยะวร

คำสำคัญ:

ครอบครัวบำบัด, การเสริมสร้างแรงจูงใจ, ติดสุรา, ภาวะซึมเศร้า, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างรูปแบบการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าโดยครอบครัวบำบัดและการเสริมสร้างแรงจูงใจ

รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม และวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมครอบครัวบำบัดและการเสริมสร้างแรงจูงใจ สถิติใช้การวิเคราะห์เนื้อหา, t-test

ผลการศึกษา : รูปแบบการบำบัดประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. ตัวผู้บำบัด ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการบำบัด 2. ตัวผู้ป่วย ต้องมีแรงจูงใจในการเลิกสุรา 3. ครอบครัว ต้องให้ความร่วมมือ ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าโดยครอบครัวบำบัดและการเสริมสร้างแรงจูงใจ พบคะแนนเฉลี่ยการประเมินความเสี่ยงการดื่มสุรา ก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ t=29.43,p-value <0.01 และคะแนนประเมินภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ t=10.07, p-value <0.01

สรุปผลการศึกษา : รูปแบบการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและโปรแกรมครอบครัวบำบัดและการสร้างแรงจูงใจสามารถช่วยผู้ป่วยติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าสามารถเลิกสุราและลดภาวะซึมเศร้าได้

References

Organization WH. Global status report on alcohol and health 2018: World Health Organization; 2019.

Office NS. Summari zing the Important Results of the Survey of Smoking and Alcohol Drinking Behavior of the Population 2014. Bangkok: 2015.

อธิบ ตันอารีย์, พลเทพ วิจิตรคุณากร. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อ ปัญหาแอลกอฮอล์ ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูล การสำรวจ พ.ศ.2560.2019.

ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การเผยแพร่ข้อมูลสถิติทางการ 2021

พฤษภาคม 2565]. [Available from: http://164.115.40.50/statv5/list.php?id_branch=5&Page=2.

กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2016;13(2):8-16.

Organization WH. Global status report on noncommunicable diseases 2014: World Health Organization; 2014.

สำนักงานสถิติติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557. 2 พ, editor. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

Kuria MW, Ndetei DM, Obot IS, Khasakhala LI, Bagaka BM, Mbugua MN, et al. The association between alcohol dependence and depression before and after treatment for alcohol dependence. International Scholarly Research Notices. 2012;2012.

Sindhu B, Gupta R, Sindhu S, Kumar K, Kumar D. Depression and alcohol dependence: One syndrome or two? A comparison of disability, suicidal risk and coping styles. Pakistan Journal of Social and Clinical Psychology. 2011;9:62.

Pettinati HM, Dundon WD. Comorbid depression and alcohol dependence: new approaches to dual therapy challenges and progress. Psychiatric Times. 2011;28(6):49-.

โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดด้านสุขภาพ อำเภอเชียง ยืน. 2563.

Phajuy A, Sriburapar N. Psychiatric Comorbidity of Alcohol Dependent Patients Admitting in Chiang Mai Drug Dependence Treatment Center. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 2009;54(1):63-74.

Kwansanit P, editor Epidemiology of among patients with depression disorder, suicidal with Alcohol drinking problem. 1st Academic conference, Department of Mental Health; 2013.

Babor TE, Higgins-Biddle J, Dauser D, Higgins P, Burleson JA. Alcohol screening and brief intervention in primary care settings: implementation models and predictors. Journal of studies on alcohol. 2005;66(3):361-8.

Miller W. Motivational enhancement therapy with drug abusers. Department of Psychology and Center on Alcoholism. Substance Abuse, and Addictions (CASAA), University of New Mexico Albuquerque, NM: University of New Mexico. 1995.

อนันญา ดีปานา, ลภัสรดา หนุ่มคำ, ศุภางค์ วัฒนเสย. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานห้างสรรพสินค้าในจังหวัดน่าน. Thai Science and Technology Journal. 2020:168-81.

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research: Springer Science & Business Media; 2013.

Smith WE. The creative power: Transforming ourselves, our organizations, and our world. New York Routledge; 2009.

Friedman SE. The reflecting team in action: Collaborative practice in family therapy: Guilford Press; 1995.

Miller WR, Rose GS. Toward a theory of motivational interviewing. American psychologist. 2009;64(6):527.

Prochaska JO, DiClemente CC. Stages and processes of self-change of smoking: toward an integrative model of change. Journal of consulting and clinical psychology. 1983;51(3):390

Babor TF, Robaina K. The Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT): A review of graded severity algorithms and national adaptations. 2016.

Lotrakul M, Sukanich P. Development of the Thai depression inventory. JOURNAL- MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND. 1999;82(12):1200-7.

Erdfelder E, Faul F, Buchner A. GPOWER: A general power analysis program. Behavior research methods, instruments, & computers. 1996;28(1):1-11.

Hedges LV. Estimation of effect size from a series of independent experiments. Psychological bulletin. 1982;92(2):490.

วนาลักษณ์ รอวิลาน, ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจรายกลุ่มโดย ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในผู้ติดสุราณโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง: การศึกษานำร่อง. Thai Journal of Nursing Council. 2016;31(3):53-66.

Heather N. Brief interventions. The Essential Handbook For Treatment And Prevention Of Alcohol Problems. 2004:117-38.

Goldman LS, Nielsen NH, Champion HC, Council on Scientific Affairs AMA. Awareness, diagnosis, and treatment of depression. Journal of general internal medicine. 1999;14(9):569-80.

อรัญญา สุริยะจันทร์. กลยุทธ์ดำเนินงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารศูนย์ อนามัย ที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม. 2018;12(28):52-71.

Totharong P, Limprasutr P, Wannapornsiri C. Experience of persistent cut down of alcohol intake among former alcohol dependence. Journal of Nursing Science Naresuan University. 2008;2(2):45-61.

พัชชราวลัย กนกจรรยา, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้น โดยใช้การ เสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการ เสพสุราในผู้เสพติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2013;27(2):56-68.

จิตภัณฑ์ กมลรัตน์, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วม ของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา. THE JOURNAL OF PSYCHIATRIC NURSING AND MENTAL HEALTH. 2019;33(2):47-60.

มานะศักดิ์ เหลื่อมทองหลาง, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของโปรแกรมการบำบัดโดยการ เสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต. 2020;34(1):163-78.

Murphy CM, Ting LA, Jordan LC, Musser PH, Winters JJ, Poole GM, et al. A randomized clinical trial of motivational enhancement therapy for alcohol problems in partner violent men. Journal of substance abuse treatment. 2018;89:11-9.

ธนิษฐา พิพิธวิทยา, รัชนีกร อุปเสน. ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วม ของครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. Nursing Journal. 2019;46:60-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24