การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุนันต์ทา พิลุน -
  • วิศรุดา ตีเมืองซ้าย

คำสำคัญ:

เด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พื้นที่ศึกษาคือหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 20 แห่ง ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า 22 คน ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล 22 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 20 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข 20 คน รวม 84 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะพัฒนา และ 3. ระยะประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2563 เก็บรวมรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และฐานข้อมูล HDC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา : 1) ระยะเตรียมการ พบปัญหาขาดแนวทางการปฏิบัติงาน ระบบส่งต่อและการติดตามเด็ก รวมถึงผู้ดูแลเด็กขาดทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) ระยะดำเนินการ มีกิจกรรมสำคัญ 8 กิจกรรม ได้แก่ 1. สำรวจสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหา/จุดอ่อน 2. ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อจัดทำแนวทางการทำงาน 3. อบรมเพิ่มศักยภาพการดูแลเด็กให้กับทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ครูศูนย์เด็กเล็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 4. ดำเนินงานร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาเด็กเก่งดีมีสุข ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) 5. นิเทศงานหน่วยบริการปฐมภูมิ และศูนย์เด็กเล็กโดยทีมพี่เลี้ยงจากคลินิกพัฒนาการเด็กและทีมสารสนเทศ 6. ติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชน 7. เฝ้าระวังติดตามเด็กอย่างต่อเนื่องและ8.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณภาพการบริการของคณะกรรมการงานอนามัยแม่และเด็กระดับอำเภอ (MCH Broad) 3) ระยะประเมินผล พบว่า หลังการพัฒนาด้านการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการของผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดู ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากร้อยละ 77.27 กลุ่มตัวอย่างที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตามหลังกระตุ้นภายใน 30 วัน ร้อยละ 100 เพิ่มขึ้นจากก่อนพัฒนา และผลการติดตามกระตุ้นพัฒนาการ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย (ครั้งแรกและหลังกระตุ้น 30 วัน) 9 คน ร้อยละ 40.90 สงสัยพัฒนาการล่าช้า 6 คน ร้อยละ 27.27 และพัฒนาการล่าช้า 7 คน ร้อยละ 31.80 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น Down syndrome 2 คน Cerebral Palsy and Epilepsy 1 คน และ Autism 2 คน

References

กรมสุขภาพจิต. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ: กรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2558.

กรมอนามัย. เอกสารรายงานผลโครงการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560 นนทบุรี; 2560.

Kemmis,S.,McTaggart,R.TheActionResearch Planner (3rd ed.). Geelong. Australia: DeakinUniversity; 1988.

ชรินทร์พร มะชะรา และคณะ. ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแล และพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(38):574-587.

ฮาลาวาตี สนิหวี. รูปแบบการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็ก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2563;2(1):41-51.

อรุณศรี กัณวเศรษฐ และคณะ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา

ต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลเด็กวัยปฐมวัย. วชิรสารการพยาบาล. 2561;20(1):40-53.

กิตติ กรรภิรมย์. การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารแพทย์เขต. 2560;36(4):305-316.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง และคณะ. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2561;41(1):95-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27