ผลการให้เคตามีนขนาดต่ำทางหลอดเลือดดำระหว่างผ่าตัดเพื่อระงับปวดในการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง

ผู้แต่ง

  • พัชรมัย ศรีพรหม -
  • ยุพาพิน ปักการะโต
  • สายทอง ศรีวิเศษ

คำสำคัญ:

เคตามีนขนาดต่ำ, ปวด, เชื่อมกระดูกสันหลัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการระงับปวดของเคตามีนขนาดต่ำที่ให้ระหว่างการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก

วิธีการศึกษา : ศึกษาแบบ randomized double blinded controlled trial ในผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังแบบไม่ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลมหาสารคาม 38 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มเคตามีน (K) ให้เคตามีน 0.3 มก./กก. ทางหลอดเลือดดำก่อนลงมีดผ่าตัด ตามด้วย 0.15 มก./กก./ชม. และกลุ่มยาหลอก (P) ให้น้ำเกลือชนิดนอร์มัลซาไลน์ในปริมาณเท่ากัน บันทึกปริมาณมอร์ฟีนสะสม 24 ชั่วโมง, ระยะเวลาที่ต้องการมอร์ฟีนครั้งแรก, คะแนนความปวด และอาการข้างเคียง

ผลการศึกษา : กลุ่ม K มีค่าเฉลี่ยมอร์ฟีนสะสมใน 24 ชั่วโมง (8.316±6.37) น้อยกว่ากลุ่ม P (13±6.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.033) ปริมาณมอร์ฟีนสะสมน้อยกว่าที่เวลา 15, 30, 45 และ 60 นาทีในห้องพักฟื้น (p=0.008, 0.008, 0.009, 0.015) และ 0, 1 และ 24 ชั่วโมงที่หอผู้ป่วย (p= 0.008, 0.032 ,0.037) กลุ่ม K มีคะแนนความปวดแรกรับในห้องพักฟื้นน้อยกว่ากลุ่ม P (p=0.018)  โดยไม่พบอาการข้างเคียง

สรุปผลการศึกษา : การให้เคตามีนขนาดต่ำทางหลอดเลือดดำร่วมกับมอร์ฟีนระหว่างผ่าตัดในการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังมีประสิทธิภาพการระงับปวด ทำให้ความต้องการมอร์ฟีนสะสม 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดลดลงร้อยละ 63.97 โดยไม่พบอาการข้างเคียงจากเคตามีนขนาดต่ำ                                          

References

Maysoon S. Abdalrahim.The effect of postoperative pain management program on improving nurses’ knowledge and attitudes toward pain.Nurse Education in Practice. 2011;11(4):250-255.

Paul F. White. Improving Postoperative Pain Management. Anesthesiology. 2010; 112:220–5.

Arif Pendi. Perioperative Ketamine for Analgesia in Spine Surgery: A Metaanalysis of Randomized Controlled Trials. Spine (Phila Pa 1976). 2018;43(5):E299–E307.

Andrew W Gorlin. Intravenous sub-anesthetic ketamine for perioperative analgesia. J Anaesthesiol Clin Pharmacol. 2016;32(2):160–167.

KETAMINE FOR ANALGESIA. SurgicalCriticalCare.net2017.

Piraya Akaravinek . Update in the Use of Ketamine for Anesthetists: An Evidence-Based Review. Thai Journal of Anesthesiology. 2021;47(4):355-62.

Steven B. Porter. Perioperative ketamine for acute analgesia and beyond. Romanian Journal of Anaesthesia and Intensive Care. 2019;26(1):67-73.

Esraa B Abdulatif. Comparative study between preoperative ketamine bolus dose versus ketamine bolus plus infusion for perioperative analgesia in orthopedic surgery. The scientific Journal of AI-Azhar Medical Faculty,Girls. 2020;4(4):660-666.

แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด.ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย.2562

J. Mark Riddell. Low-dose ketamine in painful orthopaedic surgery: a systematic review and meta-analysis. British Journal of Anaesthesia. 2019;123 (3):325-334.

Christophe Menigaux. The Benefits of Intraoperative Small-Dose Ketamine on Postoperative Pain After Anterior Cruciate Ligament Repair. Anesthesia and Analgesia. 2000;90:129–35.

Julie Jouguelet-Lacoste. The Use of Intravenous Infusion or Single Dose of Low-Dose Ketamine for Postoperative Analgesia: A Review of the Current Literature. Pain Medicine. 2015;16:383-403.

Bushra A. Hadi. A randomized, controlled trial of a clinical pharmacist intervention in microdiscectomy surgery – Low dose intravenous ketamine as an adjunct to standard therapy. Saudi Pharmaceutical Journal. 2013;21:169-175.

Paulina Swieboda. Assessment of pain: types, mechanism and treatment.Annal of Agricultural and Environmental Medicine. 2013;1:2-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27