ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประยูร จำปาปี
  • มนัสนันท์ วงษ์หาแก้ว
  • กิจมงคล ทาดทา

คำสำคัญ:

ความสามารถแห่งตน, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตน 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตน 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตน           

รูปแบบและวิธีวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมหาสารคามในปี 2564-2565 โดยปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปีจำนวนทั้งหมด 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของพยาบาลห้องผ่าตัดมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา CVI จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เท่ากับ 1.00 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ได้ค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.96,1.00 และ 1 ตามลำดับ
หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้ในกลุ่มพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลใกล้เคียงที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ซึ่งได้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง แบบประเมิน ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 ได้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.86 แบบประเมินทัศนคติและการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) ซึ่งได้ค่าเท่ากับ 0.88 และ 0.81 ตามลำดับ

References

กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650105175718PM_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87homeIso.pdf

กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. OR-NEW NORMAL .เอกสารเลขที ก.113/ส.ค./63. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://dcd.hss.moph.go.th/web/attachments/article/474/181120_095203.pdf.

นพวรรณ กฤตยภูษิตพจน์. โปรแกรมการสอนงานสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. นครศรีธรรมราชเวชสาร. 2564;5(1):1-12.

บังอร ศรีสงคราม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้สำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโรงพยาบาลขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 2564.

ภาวิณี พรหมบุตร. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อ ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำ หมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชน ของจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้). วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558;35(2):113-118.

Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company, 1971.

Likert, Rensis. “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic. New York : Wiley & Son; 1967.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs New Jersey : Prentice Hall; 1977.

พิมพา เชิญผึ้ง. การศึกษาแนวทางการปฏิบัติในการเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019

(COVID-19) วารสารสมาคมนักวิจัย. 2565;27(2):1-16.

ไมลา อิสสระสงคราม. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อของผู้ดูแลเด็กระหว่างรูปแบบการสอนแบบรายบุคคลด้วยหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา กับรูปแบบการสอนแบบบรรยายกลุ่มใหญ่. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(1): 91-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27