ผลของการใช้นวัตกรรมเก้าอี้ยางยืดเหยียดบริหารข้อเข่าในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม -
  • เพ็ญศิริ จันทร์แอ
  • พงษ์ศักดิ์ ราชภักดี
  • ธีระ ผิวเงิน
  • มิ่งกมล หงษา
  • ภานิชา พงษ์นราทร

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, โรคข้อเข่าเสื่อม, การยืดเหยียดข้อเข่า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมเก้าอี้ยางยืดเหยียดข้อเข่าสำหรับใช้บริหารในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม และศึกษาผลของการใช้งานโดยเปรียบเทียบค่าองศาการเหยียดและงอของข้อเข่าก่อน-หลัง และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาในแผนกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร จำนวน 40 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดช่วงการเคลื่อนไหวของข้อและนวัตกรรมเก้าอี้ยางยืดเหยียดข้อเข่า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ นำเสนอในรูปแบบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลลัพท์ทั้งสองกลุ่ม

ผลการวิจัย : พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 22.43 ± 1.65 และ 32.07 ± 2.62 ตามลำดับ  โดยเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดเท่ากับ 4.25 ± 0.34 และ 2.13 ± 0.17 ตามลำดับ มีค่าลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการวัดองศามุมข้อทั้งท่างอเข่าและเหยียดตรงภายหลังการทดลองครั้งที่ 5 พบว่ากลุ่มทดลองสามารถเหยียดตรงและงอเข่าได้มากขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการใช้นวัตกรรมเก้าอี้ยืดเหยียดช่วยในการบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ

สรุปผลการวิจัย : นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ ที่สามารถเลือกใช้ร่วมกับแผนการรักษาของแพทย์ช่วยให้ผู้สูงอายุลดปวด เพิ่มองศาการงอและการเหยียดข้อเข่าได้ดีขึ้น

References

Vincent KR, Conrad BP, Fregly BJ, Vincent HK. The pathophysiology of osteoarthritis: a mechanical perspective on the knee joint. PM R. 2012; 4(5):3-9.

Chaichana T, Punfa W, Taoprasert, Tansuwanwong S. The Study of Follow-Up for Early Stage Knee Osteoarthritis Treatment with Thai Traditional Medicine. Journal of Traditional Thai Medical Research. 2020;6(1):45–54.

Sangthong J. Aging Society (Complete Aged): The elderly condition of good quality. Rusamilae J. 2017;38(1):6–28.

Sroisong S., Rueankon A., Fuongtong P., Srathong P. Nursing Care for Elderly People with Knee Osteoarthritis. Reg 11 Med J. 2019;33(2):197-210.

Inkaew C. Effectiveness of the program to reduce knee pain in osteoarthritis elderly patients in Chang-sai health promotion hospital. Region 11 Medical Journal. 2019;33(2):293–302.

Heidari, B. Knee osteoarthritis diagnosis, treatment and associated factors of progression: part II. Caspian journal of internal medicine 2011;2(3):249-255.

National Health Security Office. NHSO Board. Practice guidelines for osteoarthritis of the knee decentralize the district to help patients succeed in treatment. [cited 2018 Nov 30], Available from: https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid= MjA0OQ==

Dawson J, Fitzpatrick R, Murray D Carr A. Questionnaire on the Perceptions of Patient about total knee replacement. J joint Surg Br. 1988;80(1):63-9.

Scherder EJ, Bouma A. Visual analogue scales for pain assessment in Alzheimer’s disease. Gerontology. 2000; 46(1): 47-53.

Reese NB, Bandy WD. Joint range of motion and muscle length testing. 2nd ed. Canada: Saunders Elsevier; 2010.

Tanwattana J, Suputthida A, Aksornkanukroh S, Anan A, Samornpoom C. Effects of exercise on tanning muscles with an applied approach in patients with osteoarthritis, Rehab Med. 2002;12(1):32-43.

Simanta D., Tudpo K. and Prasomruk P. Effects of an Exercise with Elastic Chain and Health Promotion Behavior on Delaying Osteoarthritis of Knee among Elderly in Kudhae Subdistrict, Loengnoktha District, Yasothon Province. Journal of Nursing and Health Care. 2018;36(2):41-48.

Pukdeesamai R & Panichacheewaku P. Improving care for elderly with knee pain at Ban BakTambol Health Promotion Hospital, Changhan District, Roi-Et Province. Journal of Nursing Science & Health. 2011;33(4):46-55.

Aree – Ue S. & Piyakhachornrot N. Outcomes of health education and home-based exercise programs for patients with knee osteoarthritis. Thai Journal of Nursing Council. 2008;23(3):72-84.

Kankayant C, Charoennukul A, Wayo W. Delaying Knee Osteoarthritis Prior to Advancing Age. Rama Nurs J. 2020;26(1):5-17.

Chang TF, Lieu TH, Chen CH, Huang YC, Chang KH. Effects of elastic band exercise on lower-extremity function among female patients with osteoarthritis of the knee. Elastic-band exercise for OA of the knee. 2012;34(20):1727-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27